Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1093
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจิตตินัฏฐ์ นงนุช-
dc.date.accessioned2022-07-04T07:33:27Z-
dc.date.available2022-07-04T07:33:27Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1093-
dc.description.abstractการพัฒนาสายพันธุ์แท้ของแตงกวาที่มีการแสดงเพศดอกแบบดอกกระเทย แบ่งการทดลองออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ การสกัดสายพันธุ์แตงกวาที่มีการแสดงเพศดอกแบบดอกกระเทยชั่วที่ 6 สำหรับใช้เป็นสายพันธุ์พ่อในการผลิตแตงกวาลูกผสม การศึกษาความดีเด่นของแตงกวาลูกผสม การทดสอบผลผลิตของแตงกวาลูกผสมจากการใช้สายพันธุ์แตงกวาที่มีการแสดงเพศดอกแบบดอกกระเทยเป็นสายพันธุ์พ่อ และการศึกษาสมรรถนะการผสม ผลการศึกษาพบว่า การสกัดสายพันธุ์แตงกวาที่มีการแสดงเพศดอกแบบดอกกระเทยได้สายพันธุ์แท้ที่ให้ลักษณะที่ดีทางการเกษตรจำนวน 23 สายพันธุ์ และนำสายพันธุ์แท้ที่มีการแสดงเพสดอกแบบกระเทยมาสร้างพันธุ์แตงกวาลูกผสมชั่วที่ 1 พบว่าการสร้างคู่ผสม F1 โดยจับคู่ผสมแบบพบกันหมดระหว่างแตงกวาที่มีการแสดงเพศแบบ Gynoecious 2 พันธุ์ และ Monoecious 1 พันธุ์ สามารถสร้างลูกผสม F1 ได้ 69 คู่ผสม สำหรับการศึกษาความดีเด่นของแตงกวาลูกผสมและการทดสอบผลผลิต พบว่า มีพันธุ์แตงกวาลูกผสม 3 คู่ผสม คือ gy.0650103-1/H4-48-15-12 gy.0650103-1/H10-19-35-3 และ gy.0650103-1/H10-20-25-6 แสดงความดีเด่นเหนือค่าเฉลี่ยของพ่อแม่ที่สูงและทั้ง 3 คู่ผสม ยังแสดงค่าความดีเด่นเหนือพ่อหรือแม่ที่ดีกว่า ซึ่งให้ค่าสูงในทางบวกเกือบทุกลักษณะที่ทำการศึกษา คือ ความกว้างผล ความยาวผล น้ำหนักต่อผล จำนวนผลต่อต้น น้ำหนักต่อต้น และผลผลิตต่อไร่ เมื่อทดสอบผลผลิตยังพบว่าลูกผสมที่ได้มีลักษณะที่ต่างจากพันธุ์แม่และพ่อบางลักษณะ เช่น น้ำหนักผลผลิตต่อไร่สูงเท่ากับ 9,166 7,796 และ 7,752 กก./ไร่ ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์การค้า คือ แตงกวาลูกผสมพันธุ์ไมโครซี นอร์ทเทรินซี 327 และชินจัง ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 8,730 6,374 และ 7,518 กก./ไร่ ตามลำดับ การศึกษาสมรรถนะการรวมตัวจากการนำแตงกวาสายพันธุ์ดอกกระเทยมาใช้เป็นสายพันธุ์พ่อในการผลิตแตงกวาลูกผสม พบว่า ลักษณะที่ศึกษามีสมรรถนะการรวมตัวทั่วไปและสมรรถนะการรวมตัวเฉพาะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในทุกลักษณะที่ศึกษา ซึ่งความแตกต่างของสายพันธุ์ในสมรรถนะการรวมตัวของลักษณะผลผลิตต่อไร่ พบว่าสายพันธุ์ H1-2-31-24 H9-20-22-35 และ H3-17-16-15 มีค่าสมรรถนะการรวมตัวสูง และให้คำประเมินของสมรรถนะการผสมแตกต่างจาก 0 เท่ากับ -1,015.27 -989.92 และ -985.34 ตามลําดับen_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleการพัฒนาสายพันธุ์แท้ของแตงกวาที่มีการแสดงเพศดอกแบบดอกกระเทยen_US
dc.title.alternativeDevelopment of cucumber inbred lines for sex expression of hermaphroditicen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jittinut_Nongnuch.pdf9.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.