Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1091
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอำพล สอนสระเกษ-
dc.date.accessioned2022-07-04T07:31:00Z-
dc.date.available2022-07-04T07:31:00Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1091-
dc.description.abstractการศึกษาการขยายพันธุ์อินทผลัม พันธุ์แม่โจ้ 36 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคนิคการขยายพันธุ์อินทผลัมในสภาพปลอดเชื้อ ปัจจุบันการเพาะเมล็ดเป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย จึงทำการศึกษาผลกระทบต่อการงอกของเมล็ดโดยใช้อุณหภูมิที่ต่างกัน เริ่มทำการศึกษาโดยนำเมล็ดมาทำการฟอกฆ่าเชื้อแล้วเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อในอุณหภูมิที่แตกต่างกันคือ 28 และ 30 องศาเซลเซียส โดยเทียบกับชุดควบคุมคืออุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส เก็บเมล็ดไว้ในที่มืดตลอดระยะเวลา 35 วัน พบว่า เมล็ดที่เพาะในอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ค่าดัชนีความเร็วในการงอกสูงสุดคือ 0.377 ต้นต่อวัน และความยาว germinated tube ยาวถึง 132.47 มิลลิเมตร จากการศึกษาการชักนำแคลลัสโดยการใช้ชิ้นส่วนเอ็มบริโอของอินทผลัม ทำการทดลองโดยการนำเอ็มบริโอหลังได้รับการผสมเกสรอายุ 1 – 5 เดือน มาเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร MS ร่วมกับ 2,4-D และ dicamba ที่ระดับความเข้มข้นแตกต่างกัน ผลการทดลอง พบว่า เอ็มบริโออายุ 3, 4 และ 5 เดือนหลังได้รับการผสมเกสรที่เลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร MS ร่วมกับ dicamba ทุกความเข้มข้น สามารถชักนำแคลลัสได้ 85 - 100 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่อาหารแข็งสูตร MS ร่วมกับ 2,4-D ความเข้มข้น 6, 8 และ 10 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำ เอ็มบริโออายุ 3 และ 4 เดือนหลังได้รับการผสมเกสร ให้เกิดแคลลัสได้ 90 - 100 เปอร์เซ็นต์ และ 2,4-D ความเข้มข้น 4 และ 6 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้น้ำหนักสดแคลลัสสูงถึง 0.88 และ 0.89 กรัม ตามลำดับ จากนั้นทำการย้ายแคลลัสลงอาหารสูตรใหม่เพื่อศึกษาการพัฒนาของแคลลัสต่อการชักนำให้เกิดยอด พบว่า แคลลัสที่ชักนำด้วย 2,4-D จากเนื้อเยื่อเอ็มบริโออายุ 4 เดือนหลังได้รับการผสมเกสร มีการรอดหลังการย้ายอาหารสูงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ และสามารถชักนำให้เกิดยอดได้สูงถึง 32 เปอร์เซ็นต์ บนอาหารแข็งสูตร MS ที่มีปริมาณน้ำตาล Sucrose ความเข้นข้น 45 กรัมต่อลิตร ในระยะเวลา 8 สัปดาห์en_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleการขยายพันธุ์อินทผลัม พันธุ์แม่โจ้ 36 (Phoenix dactylifera L. cv.MAEJO 36) ในสภาพปลอดเชื้อen_US
dc.title.alternativeMicropropagation of date palm Maejo 36 cultivar (Phoenix dactylifera L. cv.Maejo 36)en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ampol_Sornsaket.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.