Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1084
Title: การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมและแสง LED ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟ (Anoectochilus burmanicus Rolfe)
Other Titles: Stuey of environment and led affecting the growth and bioactive compund contents of anoectochilus burmanicus rolfe
Authors: พีราดา แก้วทองประคำ
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมและแสง LED ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟ (Anoectochilus burmanicus Rolfe) มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) สำรวจและศึกษาสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟ 2) ศึกษาผลของแสง LED ที่มีต่อการเจริญเติบโตและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟ การสำรวจและศึกษาสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟดำเนินการในพื้นที่ป่าบ้านปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการวางแปลงศึกษา แบบเจาะจง 2 แบบ คือ ขนาด 2 x 2 เมตร จำนวน 9 แปลง และขนาด 10 x 10 เมตร จำนวน 1 แปลง ที่ความสูง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป ทำการวัดความสูงจากระดับน้ำทะเล วัดอุณหภูมิของดิน วัดความเข้มแสง ทำการเก็บดินที่ความลึก 0-30 เซนติเมตร นำมาวิเคราะห์คุณสมบัติของดิน สำรวจจำนวนต้นที่พบในแต่ละแปลง หาค่าความหนาแน่น (Density) ของจำนวนต้นต่อหน่วยพื้นที่ บันทึกลักษณะสัณฐานวิทยา จากนั้นนำมาหาค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมของป่าดิบเขาที่ไม่ถูกรบกวน ที่ความสูง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป ดินมีความเป็นกรด-ด่าง ปานกลาง ปริมาณอินทรียวัตถุในดินสูง ธาตุอาหารในดินอยู่ในระดับปานกลางไปถึงสูง และความเข้มแสงต่ำ มีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟ ส่วนการศึกษาผลของแสง LED ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของกล้วยไม้ดิน นกคุ้มไฟ ทำการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design : CRD) โดยเพาะเลี้ยงต้นกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟในสภาพปลอดเชื้อ ภายใต้การให้คุณภาพแสงต่าง ๆ 5 กรรมวิธี คือ แสงจากหลอด LED สีแดงร่วมกับสีน้ำเงินในอัตราส่วน 3:1 1:1 1:3 แสงจากหลอด LED สีขาว และแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ให้แสง 12 ชั่วโมงต่อวัน ที่ความเข้มแสง 20 µmolm-2s-1 เป็นเวลา 15 สัปดาห์ สุ่มเก็บตัวอย่างกรรมวิธีละ 10 ต้น เพื่อวัดการเจริญเติบโต ปริมาณคลอโรฟิลล์ จำนวนปากใบต่อพื้นที่ และประมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่าแสงจากหลอด LED สีขาว ให้ความสูงลำต้น ความกว้างทรงพุ่ม จำนวนใบ ความกว้างใบ จำนวนราก และ ความยาวรากสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่น ในขณะที่แสงจากหลอด LED สีแดงร่วมกับสีน้ำเงิน ในอัตราส่วน 1:3 ให้ความหนาของลำต้น ความยาวใบ และน้ำหนักแห้งสูงที่สุด ส่วนต้นที่เพาะเลี้ยงภายใต้แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ให้ปริมาณน้ำหนักสดสูงที่สุด แสงจากหลอด LED สีขาว ให้ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ บี คลอโรฟิลล์รวม และจำนวนปากใบต่อพื้นที่สูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่น จากการวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่าต้นกล้วยไม้ดินนกคุ้มไฟที่เพาะเลี้ยงภายใต้แสงจากหลอด LED สีแดงร่วมกับสีน้ำเงินอัตราส่วน 1:1 ให้ปริมาณฟีนอลิกรวมและพอลิแซคคาไรด์รวมสูงที่สุด ในขณะที่แสงจากหลอด LED แดงร่วมกับสีน้ำเงินอัตราส่วน 3:1 ให้ปริมาณฟลาโวนอยด์รวมสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่น
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1084
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Perada_Kaewthongprakum.pdf4.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.