Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1075
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรวุฒิ บุญมา-
dc.date.accessioned2022-07-04T07:07:47Z-
dc.date.available2022-07-04T07:07:47Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1075-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สัณฐานพื้นที่ของโครงข่ายสัญจร กับที่ว่างสาธารณะ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เมืองประวัติศาสตร์ เชียงใหม่ 2) วิเคราะห์ศักยภาพการเข้าถึงโครงข่ายสัญจร กับพื้นที่ว่างสาธารณะ ในพื้นที่เมืองประวัติศาสตร์ เชียงใหม่ 3) เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงที่ว่างสาธารณะที่สัมพันธ์กับศักยภาพการเข้าถึง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง อย่างส่งเสริมต่อความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และการใช้สอยพื้นที่ในเมืองประวัติศาสตร์ เชียงใหม่ วิธีการวิจัยโดยการวิเคราะห์เอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การสำรวจพื้นที่สาธารณะประเภทพื้นที่ ประเภทบาทวิถี และประเภทสวนสาธารณะ จำนวนทั้งสิ้น 24 พื้นที่ ร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องบนระบบภูมิสารสนเทศ การวิเคราะห์สัณฐานพื้นที่ของโครงข่ายสัญจร กับที่ว่างสาธารณะ โดยแนวคิดทฤษฎีสัณฐานพื้นที่ของทฤษฎีการสัญจรอิสระ ทฤษฎีเศรษฐสัญจร ทฤษฎีสัณฐานพื้นที่ศูนย์กลาง รวมถึงทฤษฎีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แบบจำลองเชิงพื้นที่ สเปซ ซินแท็กซ์ ในการวิเคราะห์การเข้าถึงโครงข่ายสัญจร กับที่ว่างสาธารณะ โดยเทคนิควิเคราะห์การซ้อนทับชั้นข้อมูลบนระบบภูมิสารสนเทศ และสถิติ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของศักยภาพการเข้าถึงพื้นที่ ตลอดจนสถิติร้อยละ และการประมาณค่าช่วง ผลการวิจัยพบว่า สัณฐานพื้นที่ของโครงข่ายสัญจรมีรูปแบบตารางในย่านใจกลางเมือง ผสมกับรูปแบบวงแหวน และถนนปลายตัน ที่ว่างสาธารณะประเภทพื้นที่ และประเภทสวนสาธารณะ มีที่ตั้งและการกระจายตัวอยู่ทั่วไป และเชื่อมโยงด้วยที่ว่างสาธารณะประเภทบาทวิถี ศักยภาพการเข้าถึงของโครงข่ายสัญจรกับพื้นที่ว่างสาธารณะของเมืองประวัติศาสตร์เชียงใหม่ มีค่าเฉลี่ยศักยภาพการเข้าถึงในระดับรวม 0.534347 ครอบคลุมที่ว่างสาธารณะในระดับสูง ค่าเฉลี่ยศักยภาพการเข้าถึงในระดับย่าน 1.28226 และค่าเฉลี่ยศักยภาพการเข้าถึงในระดับตัวเอง หรือการเชื่อมต่อ 0.24834 ค่าสัมประสิทธิ์ความสามารถในการทำความเข้าใจเมืองและย่าน ยากต่อการรับรู้พื้นที่เมือง 0.643943 และ 0.494479 ค่าสัมประสิทธิ์ความผสานกันของโครงข่ายเมืองประวัติศาสตร์ มีการประสานกันของระบบโครงข่ายสัญจรที่ดี 0.281012 โดยศักยภาพการเข้าถึงโครงข่ายสัญจรกับที่ว่างสาธารณะทั้งหมด กับสัณฐานโครงข่าย และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง จำแนกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 ศักยภาพการเข้าถึงโครงข่ายสัญจรสูง อัตราการสัญจรสูง มีปัจจัยด้านการใช้โครงข่ายสัญจรประเภทถนนรอง ที่เป็นโครงข่ายที่เชื่อมโยงภายในบล็อคขนาดใหญ่ของเมือง การใช้ประโยชน์อาคารประเภทพาณิชยกรรม ความหนาแน่นของมวลอาคารมากกว่าที่ว่าง และความหลากหลายของกิจกรรมที่สูง เป็นปัจจัยสนับสนุนการเข้าใช้ประโยชน์ที่ว่างสาธารณะ รูปแบบที่ 2 ศักยภาพการเข้าถึงโครงข่ายสัญจรสูง อัตราการสัญจรต่ำ มีปัจจัยด้านกิจกรรมการใช้ประโยชน์เฉพาะช่วงวันหยุดเทศกาล และช่วงเวลาของรูปแบบกิจกรรมบางช่วงเท่านั้น รูปแบบที่ 3 ศักยภาพการเข้าถึงโครงข่ายสัญจรต่ำ อัตราการสัญจรสูง มีปัจจัยด้านการใช้ประโยชน์อาคารพาณิชยกรรม กับรูปแบบกิจกรรมที่มีความหลากหลายสูง ดึงดูดผู้คนให้เข้าใช้ประโยชน์ที่ว่างสาธารณะ และรูปแบบที่ 4 ศักยภาพการเข้าถึงโครงข่ายสัญจรต่ำ อัตราการสัญจรต่ำ เป็นพื้นที่ระหว่างปรับปรุง กับพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา และพื้นที่ใช้งานเฉพาะช่วงวันเทศกาล ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะแนวทางการการปรับปรุงที่ว่างสาธารณะ ที่สัมพันธ์กับศักยภาพการเข้าถึง และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เมืองประวัติศาสตร์ เชียงใหม่ โดยการให้ความสำคัญกับปัจจัยรูปแบบกิจกรรมที่มีความหลากหลายสูง และองค์ประกอบที่ว่างสาธารณะ ที่ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย สำหรับพื้นที่ที่มีศักยภาพการเข้าถึงโครงข่ายสัญจรต่ำ ควรมีการส่งเสริมพัฒนาทางเลือกเพื่อให้เกิดโอกาสการเข้าถึงเพิ่มขึ้น ร่วมกับการเสริมสร้างทัศนียภาพเมืองประวัติศาสตร์ของที่ว่างสาธารณะ เพื่อความมีชีวิตชีวาของพื้นที่เมืองประวัติศาสตร์ เชียงใหม่ต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleที่ว่างสาธารณะกับโครงข่ายสัญจรในเมืองประวัติศาสตร์เชียงใหม่en_US
dc.title.alternativePublic open spaces and circulation network in Chiang Mai historical cityen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Woravut_Boonma.pdf29.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.