Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1072
Title: | การใช้อัลตร้าโซนิกช่วยสกัดสารออกฤทธิ์ชีวภาพจากกระเทียมเพื่อยับยั้งการเจริญของเชื้อ Escherichia coli |
Other Titles: | Ultrasonic-Assisted extraction of bioactive compounds from garlic for growth inhibition of Escherichia coli |
Authors: | สุพิชญ์ชญา กลันทะกะสุวรรณ |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการใช้อัลตร้าโซนิกช่วยสกัดสารออกฤทธิ์ชีวภาพจากกระเทียม ความสามารถในการยับยั้งเชื้อ E. coli และความคงตัวระหว่างการเก็บรักษา โดยนำกระเทียมมาสกัดด้วยความถี่ 28 45 และ 100 กิโลเฮิร์ต อุณหภูมิ 20 30 และ 40 องศาเซลเซียส และเวลาในการสกัดที่ 20 40 และ 60 นาที พิจารณาจากปริมาณสารอัลลิซินที่สกัดได้พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดมากที่สุด คือ การสกัดที่ความถี่ 45 กิโลเฮิร์ต อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และเวลาในการสกัด 40 นาที มีปริมาณสารอัลลิซินเท่ากับ 6.29±0.01 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร จากนั้นนำสารสกัดที่ได้มาทดสอบการยับยั้งเชื้อ E. coli ด้วยวิธี Broth dilution method พบว่ามีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ (Minimal inhibition concentration: MIC90) เท่ากับ 12.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ 97.75 เปอร์เซ็นต์ การศึกษาความคงตัวของสารอัลลิซินระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 27 และ 40 องศาเซลเซียส พบว่าปริมาณสารอัลลิซินที่ลดลงเป็นไปตามปฏิกิริยาอันดับศูนย์โดยมีค่าคงที่อัตราการเกิดปฏิกิริยาอันดับ (k) เท่ากับ -0.105 -0.123 และ -0.592 และมีค่าครึ่งชีวิตของปฏิกิริยาเท่ากับ 21 17 และ 4 วันตามลำดับ |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1072 |
Appears in Collections: | Economics |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suphitchaya_Kalantakasuwan.pdf | 3.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.