Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1070
Title: | ผลการใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักในอาหารไก่ลูกผสมพื้นเมืองประดู่หางดำ |
Other Titles: | The using of fermented organic soubean in thai native chicken (Pradu Hangdam) diet |
Authors: | Samlarn Kasyxongdeth |
Issue Date: | 2020 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | ผลของการใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมักในอาหารไก่ลูกผสมพื้นเมืองประดู่หางดำ แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง คือ การศึกษาคุณค่าทางโภชนะของถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมัก และศึกษาผลของการใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมักในอาหารไก่พื้นเมืองต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต ลักษณะซาก คุณภาพเนื้อ และแบคทีเรียกรดแลคติกและปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียในไส้ติ่ง การทดลองที่ 1 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนะของถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมัก โดยนำถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกมาผสมให้เข้ากันในอัตราส่วนถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกต่อน้ำตาลทรายแดงต่อเกลือ 100 : 4 : 1 จัดแยกถั่วเหลืองหมักออกเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 3 ซ้ำ กลุ่มที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 หมักเป็นเวลา 5, 7, 9, 14 และ 21 วัน ตามลำดับ ทำการวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะ ผลการวิจัยพบว่า ค่า pH และค่าเยื่อใยรวมของถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมักที่ 7, 9, 14 และ 21 วัน มีค่าต่ำกว่าการหมัก 5 วัน ค่าวัตถุแห้ง โปรตีนรวม และไขมันรวมของถั่วเหลืองที่หมัก 7, 9, 14 และ 21 วัน มีค่าสูงกว่าการหมักที่ 5 วัน ค่าเถ้ารวมของถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมักที่ 7, 9 และ 14 วัน มีค่าต่ำกว่าการหมักที่ 5 และ 21 วัน (P<0.05) การทดลองที่ 2 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมักในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต องค์ประกอบซาก คุณภาพเนื้อ แบคทีเรียกรดแลคติกและปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียในไก่ลูกผสมพื้นเมือง โดยใช้ไก่ลูกผสมพื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ คละเพศ อายุ 2 สัปดาห์ จำนวน 180 ตัว แบ่งเป็น 5 กลุ่มตามสูตรอาหาร แต่ละกลุ่มมี 3 ซ้ำ ซ้ำละ 12 ตัว กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุมใช้ถั่วเหลืองต้มสุกเป็นแหล่งโปรตีนอย่างเดียวไม่ใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมัก (0%) กลุ่มที่ 2, 3, 4 และ 5 กลุ่มที่ใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมักที่ระดับ 25, 50, 75 และ 100% ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ระดับของถั่วเหลืองอินทรีย์หมักไม่ส่งผลต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตในช่วงอายุ 3 - 8 สัปดาห์ (P>0.05) ในช่วงอายุ 9-13 สัปดาห์ การใช้ถั่วเหลืองหมักทดแทนไม่หมัก 25, 50 และ 75% ทำให้อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) การใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมักไม่ส่งผลต่อลักษณะซาก (P>0.05) แต่พบว่า ค่า pH ของเนื้อหน้าอกที่ 45 นาที และ 24 ชั่วโมงหลังการฆ่า ของกลุ่มที่ใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมัก 25% และค่าความสว่างของเนื้ออกที่ 45 นาที และ 24 ชั่วโมงหลังการฆ่า ของกลุ่มใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมัก 100% มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) ส่วนค่าความแดงของเนื้ออกที่ 24 ชั่วโมงหลังการฆ่า และค่าแรงตัดผ่านของเนื้อสะโพก ของกลุ่มที่ใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมัก 100% ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) และจำนวน E. coli ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่จำนวน Lactic acid bacteria ของกลุ่มที่ใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมัก 75 และ 100% มีจำนวนค่าสูงกว่ากลุ่มที่ใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมัก 25% (P=0.05) ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ถั่วเหลืองอินทรีย์ตหมักมีระยะเวลาการหมักที่เหมาะสมคือ 9 วัน เนื่องจากใช้ระยะเวลาไม่นาน ทำให้มีปริมาณโปรตีนสูงและเยื่อใยต่ำ และการใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมักไม่ส่งผลต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต แต่ทำให้สีของเนื้อ และความนุ่มของเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมืองประดู่หางดำดีขึ้น ดังนั้นหากต้องการเน้นด้านสมรรถภาพการเจริญเติบโตนั้น สามารถใช้ได้ทั้งถั่วเหลืองอินทรีย์หมักและไม่หมัก แต่การใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมักที่ระดับ 25% ต้นทุนต่ำที่สุด และหากต้องการปรับปรุงคุณภาพเนื้อที่ดีขึ้นโดยเฉพาะสีและความนุ่มเนื้อควรใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมักในอาหาร และระดับการใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมักทดแทนไม่หมักในอาหารที่เหมาะสมคือ 75% |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1070 |
Appears in Collections: | Liberal Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Samlarn_Kasyxongdeth.pdf | 4.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.