Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1069
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorSouliphong Khounthavong-
dc.date.accessioned2022-07-04T06:57:19Z-
dc.date.available2022-07-04T06:57:19Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1069-
dc.description.abstractการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ผักโขม (Amaranthus spinosus L.) ที่มีการปรับปรุงคุณภาพโดยการเสริมด้วยเอนไซม์ย่อยเยื่อใยหรือการหมักต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต ลักษณะซาก คุณภาพเนื้อและลักษณะทางสัณฐานวิทยาของลำไส้เล็กของสุกรพันธุ์ราด โดยใช้สุกรพื้นเมืองสายพันธุ์ราดเพศผู้ตอน อายุประมาณ 60 วัน น้ำหนักเริ่มต้นโดยเฉลี่ย 9.04±0.99 กิโลกรัม จำนวน 32 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 4 ซ้ำ ๆ ตามแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) โดยแต่ละซ้ำประกอบด้วยสุกรจำนวน 2 ตัว เลี้ยงภายในคอกเดียวกัน สุ่มสุกรในแต่ละหน่วยทดลองให้ได้รับอาหารในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 อาหารควบคุม (ไม่มีการใช้ผักโขมในสูตรอาหาร) กลุ่มที่ 2 อาหารพื้นฐานที่ทดแทนกากถั่วเหลืองด้วยผักโขมแห้งบดร้อยละ 20 กลุ่มที่ 3 อาหารพื้นฐานที่ทดแทนกากถั่วเหลืองด้วยผักโขมแห้งบดร้อยละ 20 และเสริมด้วยเอนไซม์ (Hostazym® X Enzyme; 0.01%, w/w) กลุ่มที่ 4 อาหารพื้นฐานที่ทดแทนกากถั่วเหลืองด้วยผักโขมหมักแห้งบดร้อยละ 20 โดยอาหารทดลองแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ช่วงน้ำหนัก 8 – 30 กิโลกรัม อาหารทุกกลุ่มถูกคำนวณให้มีปริมาณโปรตีน 17 เปอร์เซ็นต์และพลังงาน 3,100 กิโลแคลอรี่ และช่วงน้ำหนัก 30 – 50 กิโลกรัมอาหารทุกกลุ่มถูกคำนวณให้มีปริมาณโปรตีน 15 เปอร์เซ็นต์และพลังงาน 3,100 กิโลแคลอรี่ ผลการศึกษาพบว่า การใช้ผักโขมแห้งบดและเสริมด้วยเอนไซม์และการใช้ผักโขมหมักแห้งบดทำให้การย่อยได้ของวัตถุแห้ง และการย่อยได้ของโปรตีน เยื่อใย ไขมัน NDF และ ADF สูงกว่า (P<0.01) กลุ่มการใช้ผักโขมแห้งบดอย่างเดียว ซึ่งอาหารที่มีการใช้ผักโขมแห้งบดเสริมเอนไซม์และผักโขมหมักแห้งบดส่งผลต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของสุกรพันธุ์ราดที่สูงกว่า (P<0.01) และมีอัตราการเปลี่ยนอาหารไปเป็นน้ำหนักตัวต่ำกว่า (P<0.01) กลุ่มควบคุมและกลุ่มที่เสริมด้วยผักโขมแห้งบดอย่างเดียว และเมื่อประเมินต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (FCG) พบว่ากลุ่มที่ 2 สามารถลดต้นทุนค่าอาหาร 20.46 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มที่ 3 และ 4 ลดต้นทุนค่าอาหารเฉลี่ยได้ถึง 31 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนค่าอาหารของกลุ่มการทดลองที่ 1 ด้านลักษณะซากและคุณภาพเนื้อพบว่า อาหารที่มีการใช้ผักโขมแห้งบดเสริมเอนไซม์และผักโขมหมักแห้งบดส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์ซากอุ่น พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน ส่วนตัดชิ้นส่วนสันรวมกระดูกสูงกว่า กลุ่มควบคุมและกลุ่มที่เสริมด้วยผักโขมแห้งบด(P<0.01) แต่ความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อมีค่าที่ดีกว่า (P<0.01) นอกจากนี้ พบว่า การใช้ผักโขมแห้งบดและเสริมด้วยเอนไซม์และผักโขมหมักแห้งบดส่งผลต่อพื้นที่ของวิลไลและความสูงของวิลไล (P<0.01) สูงกว่ากลุ่มที่อาหารที่ไม่ใช้ผักโขมและการใช้ผักโขมแห้งบดอย่างเดียว จากผลการทดลองในครั้งนี้สรุปได้ว่า การปรับปรุงคุณภาพของผักโขมใช้เอนไซม์หรือการใช้วิธีการหมักสามารถทำให้ใช้ผักโขมในสูตรอาหารได้สูงถึงร้อยละ 20 ในสูตรอาหารและส่งผลต่อประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตที่ดีในสุกรสายพันธุ์ราดen_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleผลของการใช้ผักโขม (Amaranthus spinosus L.) ที่มีการปรับปรุง คุณภาพโดยการ เสริมด้วยเอนไซม์ย่อยเยื่อใยหรือการหมักต่อ ประสิทธิภาพการเจริญเติบโต ลักษณะ ซาก คุณภาพเนื้อ และลักษณะทางสัณฐานวิทยาของลำไส้เล็ก ของสุกรพันธุ์ราดen_US
dc.title.alternativeEffects of improve amaranth meal Quality (Amaranthus spinosus L.) by exogenous fibrotic enzyme supplementation or fermentation process on growth performances, carcass and intestinal histomorphology of Native Lath pigsen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Souliphong_Khounthavong.pdf8.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.