Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1068
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | บดินทร์ โคตรทอง | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-04T06:54:25Z | - |
dc.date.available | 2022-07-04T06:54:25Z | - |
dc.date.issued | 2020 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1068 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาผลของการใช้เปลือกหอยเชอรี่เป็นแหล่งแคลเซียมในอาหารไก่ไข่และไก่เนื้อแบ่งออกเป็น 4 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 การศึกษาความสามารถในการละลายได้ของแคลเซียมในเปลือกหอยเชอรี่ในขนาดที่แตกต่างกัน จากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะพบว่าเปลือกหอยเชอรี่มีปริมาณแคลเซียมมากกว่าหินฝุ่น และจากการสุ่มเก็บตัวอย่างหินฝุ่นและเปลือกหอยเชอรี่ในขนาดที่แตกต่างกัน คือ เปลือกหอยเชอรี่ขนาด 0.50 – 1.00, 1.00 – 1.70, 1.70 – 2.80 และ 2.80 – 3.35 มิลลิเมตร ตามลำดับ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาความสามารถในการละลายได้ของแคลเซียมในห้องปฏิบัติการ ผลปรากฏว่าหินฝุ่นมีการละลายได้ของแคลเซียมดีกว่าเปลือกหอยเชอรี่ในทุกกลุ่มทดลอง (P<0.01) การทดลองที่ 2 การศึกษาผลของขนาดเปลือกหอยเชอรี่ในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ ใช้ไก่ไข่พันธุ์ ซี.พี.บราวน์ อายุ 62 สัปดาห์ จำนวน 300 ตัว โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอดอย่างสมบูรณ์ (completely randomized design; CRD) แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 15 ตัว โดยกลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มควบคุมที่ใช้หินฝุ่นเป็นแหล่งแคลเซียม กลุ่มที่ 2–5 คือ กลุ่มใช้เปลือกหอยเชอรี่ที่มีขนาดแตกต่างกัน เป็นแหล่งแคลเซียม คือ ขนาด 0.50–1.00, 1.00–1.70, 1.70–2.80 และ 2.80–3.35 มิลลิเมตร ตามลำดับ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ปรากฏว่าปริมาณอาหารที่กินของทุกกลุ่มที่ใช้เปลือกหอยเชอรี่ลดลง (P<0.05) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักไข่ของทุกกลุ่มที่ใช้เปลือกหอยเชอรี่ดีกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) ยกเว้นในกลุ่มที่ 4 เมื่อพิจารณาตลอดการทดลอง พบว่าผลผลิตไข่ไม่มีความแตกต่างกันขนาดของเปลือกหอยเชอรี่ ไม่มีผลต่อคุณภาพไข่ ยกเว้นค่าสีของไข่แดง ที่พบว่ากลุ่มที่ 3 มีค่าสีของไข่แดงสูงสุด (P<0.05) ดังนั้น สามารถใช้เปลือกหอยเชอรี่เป็นแหล่งแคลเซียมในอาหารไก่ไข่และใช้ปรับปรุงคุณภาพสีของไข่แดง โดยขนาดอนุภาคที่เหมาะสมในการใช้อยู่ระหว่าง 1.00–1.70 มิลลิเมตร การทดลองที่ 3 การศึกษาผลของอัตราส่วนระหว่างเปลือกหอยเชอรี่และหินฝุ่นเพื่อเป็นแหล่งของแคลเซียมในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ ใช้ไก่ไข่สายพันธุ์ ซี.พี.บราวน์ อายุ 24 สัปดาห์ จำนวน 300 ตัว โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอดอย่างสมบูรณ์ (completely randomized design ; CRD) แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 15 ตัว โดยกลุ่มที่ 1 คือกลุ่มควบคุมที่ให้อาหารที่ผสมหินเกร็ดร่วมกับหินฝุ่น สัดส่วน 1:1 กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มที่ให้อาหารที่ผสมเปลือกหอยเชอรี่ขนาด 1.00–1.70 มิลลิเมตร ร่วมกับหินฝุ่น สัดส่วน 1:1 กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มที่ให้อาหารที่ผสมเปลือกหอยเชอรี่ขนาด 1.00–1.70 มิลลิเมตร ร่วมกับหินฝุ่น สัดส่วน 3:1 กลุ่มที่ 4 คือกลุ่มที่ให้อาหารที่ผสมเปลือกหอยเชอรี่ขนาดน้อยกว่า 1.00 มิลลิเมตร และกลุ่มที่ 5 คือกลุ่มที่ให้อาหารที่ผสมเปลือกหอยเชอรี่ขนาด 1.00–1.70 มิลลิเมตรเพียงอย่างเดียวเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ปรากฏว่าตลอดการทดลองไม่พบความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) ของปริมาณอาหารที่กิน และผลผลิตไข่ ความหนาของเปลือกไข่ ดัชนีไข่แดง และสีของไข่แดง พบว่ามีความแตกต่างทางสถิติ (P<0.05) โดยกลุ่มที่มีคุณภาพไข่ดีที่สุดคือ กลุ่มที่ 5 ให้อาหารที่ผสมเปลือกหอยเชอรี่ขนาด 1.00–1.70 มิลลิเมตร เพียงอย่างเดียว โดยสามารถใช้เปลือกหอยเชอรี่ในอาหารไก่ไข่ได้ในทุกสัดส่วน การทดลองที่ 4 การศึกษาผลของอัตราส่วนระหว่างเปลือกหอยเชอรี่และหินฝุ่นต่อสมรรถภาพการผลิตและองค์ประกอบซากของไก่เนื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (CRD) ประกอบด้วย 4 กลุ่มการทดลอง แต่ละกลุ่มการทดลองแบ่งออกเป็น 4 ซ้ำ แต่ละซ้ำใช้ไก่เนื้อ จำนวน 12 ตัว รวมไก่ที่ใช้ในการทดลองทั้งหมด 192 ตัว แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม ให้อาหารที่ผสมหินฝุ่นเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 ให้อาหารที่ผสมเปลือกหอยเชอรี่ขนาด 1.00–1.70 มิลลิเมตร ร่วมกับหินฝุ่น สัดส่วน 50:50 กลุ่มที่ 3 ให้อาหารที่ผสมเปลือกหอยเชอรี่ขนาด 1.00–1.70 มิลลิเมตร ร่วมกับหินฝุ่น สัดส่วน 75:25 และกลุ่มที่ 4 ให้อาหารที่ผสมเปลือกหอยเชอรี่ขนาดขนาดต่ำกว่า 1.00 มิลลิเมตรเพียงอย่างเดียว โดยเริ่มทำการทดลองตั้งแต่ไก่อายุ 1 วัน จนถึงอายุ 5 สัปดาห์ ปรากฏว่า ตลอดการทดลองไม่พบความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) ของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ปริมาณอาหารที่กิน อัตราการเจริญเติบโต อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว และไม่พบความแตกต่างขององค์ประกอบซาก ยกเว้นกลุ่มที่ 3 ที่พบว่าเปอร์เซ็นต์สะโพกและหัวใจ มีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) ดังนั้น สามารถใช้เปลือกหอยเชอรี่ทดแทนหินฝุ่นได้ทุกสัดส่วน โดยไม่มีผลกระทบต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต ยกเว้น การใช้หินฝุ่นและเปลือกหอยเชอรี่ที่มีขนาดต่ำกว่า 1 มิลลิเมตร มีผลทำให้เปอร์เซ็นต์สะโพกเพิ่มขึ้น จากการทดลองทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าเปลือกหอยเชอรี่ สามารถใช้ในอาหารไก่ไข่ได้ทุกสัดส่วนโดยไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตและคุณภาพไข่ ขนาดของเปลือกหอยเชอรี่ที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ประโยชน์ คือ 1.00-1.70 มิลลิเมตร และเปลือกหอยเชอรี่ยังสามารถนำมาใช้ในอาหารไก่เนื้อได้ทุกสัดส่วน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และองค์ประกอบซาก ยกเว้น การใช้หินฝุ่นและเปลือกหอยเชอรี่ที่มีขนาดต่ำกว่า 1 มิลลิเมตร มีผลทำให้เปอร์เซ็นต์สะโพกเพิ่มขึ้น ดังนั้นสามารถใช้เปลือกหอยเชอรี่ เป็นแหล่งแคลเซียมและเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการนำวัตถุดิบที่มีในธรรมชาติมาใช้ในอาหารสัตว์แบบปลอดภัย หรืออาหารสัตว์แบบอินทรีย์ | en_US |
dc.description.sponsorship | Maejo University | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Maejo University | en_US |
dc.title | การใช้เปลือกหอยเชอรี่ในอาหารไก่ไข่และไก่เนื้อ | en_US |
dc.title.alternative | The using of golden apple snail (Pomacea canaliculata, Lamarck) shell as calcium source in laying hens and broiler dets | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Liberal Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Bodin_Khotthong.pdf | 7.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.