Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1067
Title: | การเสริมสารสกัดหยาบจากบอระเพ็ดในอาหารไก่เนื้อ |
Other Titles: | Tinospora cordifolia crude extract supplementation in broiler diets |
Authors: | ธนภัทร ศิริพงศทัต |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | การศึกษาการใช้สารสกัดหยาบจากบอระเพ็ด (TCE) ในอาหารไก่เนื้อ แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาปริมาณสารสกัดหยาบจากบอระเพ็ดที่สกัดด้วยน้ำเปรียบเทียบกับเอทานอลเข้มข้น 50, 60, 70, 80 และ 95 เปอร์เซ็นต์ พบว่าปริมาณสารสกัดหยาบจากบอระเพ็ดที่สกัดด้วยด้วยน้ำ เอทานอลเข้มข้น 50 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05) และการสกัดด้วยเอทานอลเข้มข้น 80 และ 95 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณสารสกัดหยาบน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทุกกลุ่มทดลอง (P<0.05) ในขณะที่ระยะเวลาในการระเหยตัวทำละลาย พบว่า TCE จากการสกัดด้วยเอทานอลเข้มข้น 80 และ 95 เปอร์เซ็นต์ ใช้เวลา 2 วัน การสกัดด้วยเอทานอลเข้มข้น 70 เปอร์เซ็นต์ ใช้เวลา 3 วัน การสกัดด้วยเอทานอลเข้มข้น 50 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ใช้เวลามากกว่า 3 วัน และการสกัดด้วยน้ำใช้เวลาในการระเหยนานที่สุด คือมากกว่า 5 วัน ดังนั้นการสกัด TCE ด้วยเอทานอลเข้มข้น 70 เปอร์เซ็นต์ จึงมีความเหมาะสมที่สุด การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของการเสริม TCE ในอาหารไก่เนื้อในระดับที่แตกต่างกันต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโต องค์ประกอบซาก คุณภาพเนื้อ ปริมาณแบคทีเรีย E. coli และแบคทีเรียกรดแลคติกในไส้ติ่ง กิจกรรมของเอนไซม์ทริปซิน และลักษณะสัณฐานวิทยาของลำไส้เล็กในไก่เนื้อ โดยใช้ไก่เนื้อเพศผู้อายุ 1 วัน จำนวน 240 ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely randomized design; CRD) แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มที่ได้รับอาหารควบคุม (TCE 0.00 เปอรร์เซ็นต์) และกลุ่มที่ 2, 3, 4 และ 5 คือกลุ่มที่ได้รับการเสริม TCE ในระดับที่ 0.05, 0.10, 0.15 และ 0.20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่ละกลุ่มประกอบด้วย 4 ซ้ำ ซ้ำละ 12 ตัว ทำการทดลองเป็นเวลา 35 วัน ผลการศึกษาพบว่าการเสริม TCE ในทุกระดับไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิต องค์ประกอบซาก ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าสี ค่าการสูญเสียน้ำจากการแช่เย็น ปริมาณเชื้อ E. coli ในไส้ติ่ง และกิจกรรมของเอนไซม์ทริปซินในลำไส้เล็กของไก่เนื้อ (P>0.05) ในขณะที่การเสริม TCE ในทุกระดับจะส่งผลให้ค่าการสูญเสียน้ำจากการทำให้สุกของเนื้อสะโพก และการออกซิเดชันของไขมันในเนื้อลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (P<0.05) นอกจากนี้การเสริม TCE ในทุกระดับ จะทำให้ปริมาณเชื้อ E. coli ในไส้ติ่งมีแนวโน้มลดลง (P=0.06) และการเสริม TCE ในระดับที่ 0.05, 0.10 และ 0.20 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้ปริมาณเชื้อแบคทีเรียแลคติกลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับการเสริม TCE ในระดับที่ 0.15 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) ดังนั้นการเสริม TCE ในระดับที่ 0.05 เปอร์เซ็นต์ ก็เพียงพอสำหรับการปรับปรุงคุณภาพเนื้อ และมีแนวโน้มช่วยลดปริมาณเชื้อ E. coli ในไส้ตื่งได้ |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1067 |
Appears in Collections: | Economics |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanaphat_Siriphongsathat.pdf | 2.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.