Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1065
Title: ผลของการเสริมสาหร่ายอาร์โธรสไปร่าในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปูนาสายพันธุ์กำแพงเพชร (Sayamia bangkokensis) เพื่อเป็นอาหารปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
Other Titles: Effects of athrospira platensis supplemented diets on growth performance of rice-field carbs (Sayamia bangkokensis) food safety and environmental aspects
Authors: ธนบดี ปิ่นทศิริ
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: การศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็น 3 การทดลอง โดยการทดลองที่ 1 ศึกษาผลของสาหร่าย อาร์โธรสไปร่าเสริมในอาหารต่อการเจริญเติบโตและต้นทุนการอนุบาลลูกปูนา (Sayamia bangkokensis) โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Complete Randomized Design; CRD) แบ่งเป็น 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ คือ ชุดการทดลองที่ 1 อาหารชนิดผง (Powder feed; PF) ชุดควบคุม ชุดการทดลองที่ 2, 3 และ 4 อาหารชนิดผงผสมสาหร่าย อาร์โธรสไปร่าผง 3, 5 และ 10 เปอร์เซ็นต์ (Powder feed mixed dry Arthrospira; 3% PFA, 5% PFA และ 10% PFA) ตามลำดับ ลูกปูนามีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 0.0082±0.0002 กรัม/ตัว อนุบาลในกะละมังทรงกลม ความหนาแน่น 25 ตัว/กะละมัง หรือ 385 ตัว/ตรม. โดยอนุบาล เป็นระยะเวลา 60 วัน พบว่า ลูกปูนาที่อนุบาลด้วยอาหารผสมอาร์โธรสไปร่าผง 5 เปอร์เซ็นต์ (5% PFA) มีประสิทธิภาพการเจริญเติบโตน้ำหนักเฉลี่ย (1.298±0.201 กรัม/ตัว) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย (1.2900±0.2011กรัม/ตัว) อัตราการแลกเนื้อ (0.9200±0.2007) และอัตราการรอด (87.33±1.2018 เปอร์เซ็นต์) ดีกว่าชุดการทดลองอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) คุณภาพน้ำและต้นทุนการผลิตลูกปูนาทั้ง 4 ชุดการทดลอง อยู่ระหว่าง 2.0320±0.4351-3.4998±0.2356 บาท/ตัว ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) ส่วนการทดลองที่ 2 การเปรียบเทียบชนิดอาหารสัตว์น้ำต่อการเจริญเติบโต ของปูนา แบ่งเป็น 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ คือ ชุดการทดลองที่ 1 อาหารกบเล็ก โปรตีน 38 เปอร์เซ็นต์ (T1) ชุดการทดลองที่ 2 อาหารกุ้ง โปรตีน 35 เปอร์เซ็นต์ (T2 ) ชุดการทดลองที่ 3 อาหารปลาดุก โปรตีน 32 เปอร์เซ็นต์ (T3) ชุดการทดลองที่ 4 อาหารไฮเกรด ปลาทับทิมโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ (T4) ตามลำดับ ปูนามีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 12.76±0.20 - 13.99±0.36 กรัม/ตัว เลี้ยงในกระบะพลาสติกความหนาแน่น 25 ตัว/ตรม. โดยเลี้ยงเป็นระยะเวลา 60 วัน พบว่าปูนาที่เลี้ยงด้วยอาหารปลาดุก (T3) มีประสิทธิภาพการเจริญเติบโตน้ำหนักเฉลี่ย (21.643±1.387 กรัม/ตัว) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย (8.153±1.396 กรัม/ตัว) อัตราการแลกเนื้อ (0.640±0.120) อัตราการรอด (87.33±1.201 เปอร์เซ็นต์) และต้นทุนการผลิตลูกปูนา (2.756±0.00 บาท/ตัว) ดีกว่าชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงนำชนิดอาหารสัตว์น้ำในชุดการทดลองที่ 2 มาศึกษาต่อในการทดลองที่ 3 การทดลองที่ 3 ศึกษาผลของการเสริมสาหร่ายอาร์โธรสไปร่าในอาหารปลาดุก ต่อการเจริญเติบโตของปู แบ่งเป็น 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ คือ ชุดการทดลองที่ 1 อาหารปลาดุกชนิดเม็ด (Pellets feed; PF) ชุดควบคุม ชุดการทดลองที่ 2, 3 และ 4 อาหารปลาดุกชนิดเม็ดผสมสาหร่ายอาร์โธรสไปร่าผง 3, 5 และ 10 เปอร์เซ็นต์ (Pellets feed mixed Arthrospira; PFA 3%, PFA 5% และ PFA 10%) ตามลำดับ ปูนามีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 12.50±0.74-13.73±0.60 กรัม/ตัว เลี้ยงในกระบะพลาสติก ความหนาแน่น 25 ตัว/ตรม. โดยเลี้ยงเป็นระยะเวลา 60 วัน พบว่า การเสริมสาหร่ายอาร์โธรสไปร่า 3 เปอร์เซ็นต์ (PFA 3%) มีน้ำหนักเฉลี่ย (16.90±0.82 กรัม/ตัว) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย (5.78±0.56 กรัม/ตัว) อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (0.031±0.0030 กรัม/ตัว/วัน) อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (0.58±0.22 เปอร์เซ็นต์) อัตราการแลกเนื้อ (1.18±0.04) อัตราการรอด (93.33±6.66 เปอร์เซ็นต์) ดีกว่าชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนต้นทุนการผลิตปูนา (2.756±0.00 บาท/ตัว) และคุณภาพน้ำของการเลี้ยงปูนา ทั้ง 4 ชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) ดังนั้นสรุปได้ว่า การอนุบาลปูนา ด้วยอาหารผงผสมสาหร่ายอาร์โธรสไปร่า 5 เปอร์เซ็นต์ และการเลี้ยงปูนาด้วยสาหร่าย อาร์โธรสไปร่า 3 เปอร์เซ็นต์ เสริมในอาหารปลาดุกโปรตีน 32% ช่วยให้มีการเจริญเติบโต อัตรารอดดีที่สุด รวมถึงต้นทุนเป็นที่ยอมรับได้ ซึ่งจะเป็นอาหารเสริมที่เหมาะสมสำหรับ การพัฒนาการเพาะเลี้ยงปูนาในอนาคตต่อไป
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1065
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanabodee_Pintasiri.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.