Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1062
Title: | การใช้จุลินทรีย์จีไบโอติกเสริมอาหารปลานิล ในกระชังแม่น้ำน่านและบ่อดิน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเสริมภูมิคุ้มกัน |
Other Titles: | The use of g-biotic microorganism for tilapia additive feed in cage and pond culture to promote |
Authors: | ชาญวิทย์ สุวรรณ์ |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | มีการทดลองใช้จุลินทรีย์โปรไบโอติกกลุ่ม Bacillus subtillis ผสมอาหารเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเสริมภูมิคุ้มกันในปลานิล อย่างไรก็ตามการทดลองในภาคสนามมีไม่มากนัก งานวิจัยนี้ประกอบด้วย 2 การทดลอง ได้แก่ การทดลองที่หนึ่ง ทดสอบผลของการใช้จีไบโอติก (บริษัท กรีนเทค อควาคัลเจอร์ จำกัด) ที่มีส่วนผสมของจุลินทรีย์โปรไบโอติกกลุ่ม B. subtillis ในการเลี้ยงปลานิลแดงในกระชัง ในแม่น้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก โดยสุ่มปล่อยปลานิลจำนวน 15,000 ตัว (น้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 59.87±3.63 กรัม) ลงในกระชังขนาด 3×6×2 ม. ความหนาแน่น 32 ตัว/ลบ.ม. จำนวน 13 กระชัง โดยให้อาหารผสมจีไบโอติก 0 (ชุดควบคุม) จำนวน 4 กระชังและ 2, 5 และ 10 มล./อาหาร 1 กก. (จำนวน 3 กระชังแต่ละความเข้มข้น) วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (CRD) ที่มีจำนวนซ้ำไม่เท่ากัน ให้อาหารจนอิ่ม เลี้ยงนาน 157 วัน ผลการทดลองพบว่า อัตรารอดตายเท่ากับ 72.8±7.3, 73.31±4.01, 71.38±6.8, และ 72.96±7.78% ส่วนน้ำหนักปลาเฉลี่ยต่อตัวเท่ากับ 871±95, 844±77, 781±66 และ 933±58 กรัม ตามลำดับ ได้ผลผลิตรวมเท่ากับ 9,341.5 กิโลกรัม กำไรเฉลี่ยเดือนละ 12,114.65 บาท อย่างไรก็ตามอัตรารอดและการเจริญเติบโตไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) แต่น้ำหนักปลามีแนวโน้มสูงขึ้นกลุ่มที่ใช้จีไบโอติก จากผลการทดลองครั้งนี้ควรศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของผลของการใช้จีไบโอติกต่อการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันในปลานิล เพื่อให้มีความเหมาะสมที่สุด และให้ผลตอบแทนสูงสุด ข้อเสียของการเลี้ยงปลาในกระชังในแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ไม่สามารถควบคุมคุณภาพและปริมาณของน้ำที่ไหลผ่านกระชังได้ ในบางครั้ง เมื่อเกิดปัญหาปลาตาย เกษตรกรจำเป็นต้องใช้ยาและสารเคมีเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า สามารถลดความสูญเสียจากการตาย ทำให้ยากที่จะชักจูงใจให้เกษตรกรหันมาใช้จุลินทรีย์ทดแทนยาปฏิชีวนะและสารเคมีในการเลี้ยงปลา การทดลองที่ 2 ทดลองใช้จีไบโอติกเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเสริมภูมิคุ้มกันในปลานิลในบ่อดิน จังหวัดเชียงใหม่ โดยสุ่มปล่อยปลานิล (น้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 18.41 กรัม) จำนวน 40 ตัว/กระชัง ลงในกระชังขนาด 3×3×1 ม. ความหนาแน่น 2.2 ตัว/ลบ.ม. จำนวน 12 กระชัง โดยให้อาหารผสมจีไบโอติก 0 (ชุดควบคุม) จำนวน 3 กระชังและ 2, 5 และ 10 มล./อาหาร 1 กก. (จำนวน 3 กระชังแต่ละความเข้มข้น) วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (CRD) ให้อาหาร 3 % ของน้ำหนักตัว เลี้ยงนาน 60 วัน ผลการทดลองพบว่าปริมาณโปรไบโอติกในอาหารเม็ดสำเร็จรูปมีผลต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักสุดท้าย และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ ซึ่งมีแนวโน้มสูงกว่าปลาที่ไม่ได้รับอาหารผสมโปรไบโอติก (P>0.05) ปลาที่ได้รับโปรไบโอติกผสมในอาหารเม็ดสำเร็จรูป ความเข้มข้น 2 มล./อาหาร 1 กก. มีค่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักสุดท้าย อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ และอัตราแลกเนื้อดีที่สุด ส่วนอัตราการรอดตายพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ส่วนค่าพารามิเตอร์ด้านคุณภาพน้ำต่าง ๆ ระหว่างการเลี้ยงพบว่า อุณหภูมิ ความเป็นกรดด่าง ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ความเป็นด่าง และค่าแอมโมเนียรวมระหว่างการเลี้ยง เป็นเวลา 60 วัน คุณภาพนํ้าโดยเฉลี่ย อยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์นํ้า ผลของโปรไบโอติกต่อระบบภูมิคุ้มกัน ที่อายุปลา 20, 40 และ 60 วัน มีค่าการจับกินสิ่งแปลกปลอมของเม็ดเลือดขาว และกิจกรรมไลโซไซม์ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ค่า nitro blue tetrazolium ที่อายุปลา 60 วัน ในกลุ่มที่ผสมโปรไบโอติก 2 มล./อาหาร 1 กก. มีค่า NBT สูงกว่าชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การยับยั้งเชื้อก่อโรคค่ากิจกรรมไลโซไซม์หลังได้รับการฉีดเชื้อ Streptococcus agalactiae (1 x 108 CFU/มล.) พบว่า ค่ากิจกรรมไลโซไซม์ หลังได้รับการฉีดเชื้อ ในวันที่ 2, 10 และ 15 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ส่วนในวันที่ 5 ชุดการทดลองที่ผสมโปรไบโอติก 5 มล./อาหาร 1 มีค่าสูงกว่าชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สรุปได้ว่า ควรใช้จีไบโอติกผสมอาหารที่ความเข้มข้น 2 มล./อาหาร 1 กก. เพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเสริมภูมิคุ้มกันในปลานิล |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1062 |
Appears in Collections: | Liberal Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chanwit_Suwan.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.