Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1060
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พีรพนธ์ รัตนคม | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-04T06:40:00Z | - |
dc.date.available | 2022-07-04T06:40:00Z | - |
dc.date.issued | 2019 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1060 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การท่องเที่ยวและความพร้อมของผู้ที่สนใจประกอบกิจการฟาร์มสเตย์ รวมไปถึงศึกษาถึงกระบวนการวิธีการปฏิบัติที่ดีของกิจการฟาร์มสเตย์ และเสนอแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ ในพื้นที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม โดยใช้เครื่องมือได้แก่แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และจัดทำการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างใช้ในการศึกษาคือ ผู้ถือครองพื้นที่ทำการเกษตรในอำเภอสะเมิงจำนวน 325 คน เจ้าของกิจการฟาร์มสเตย์ที่ดีที่สุดในพื้นที่ 3 แห่ง และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์การท่องเที่ยว หลังจากจังหวัดเชียงใหม่ที่ศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภาคเหนือจึงส่งผลให้อำเภอสะเมิงได้รับความนิยมมากกว่าในอดีต จึงได้มีนโยบายด้านการท่องเที่ยวใน 2 มิติคือ 1. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการท่องเที่ยว 2. ส่งเสริมให้การท่องเที่ยวในอำเภอสะเมิงให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและเกษตรปลอดสารพิษ ความพร้อมของเกษตรกรในการประกอบกิจการฟาร์มสเตย์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญและควรมีความพร้อมมากที่สุดอันดับคือ คุณภาพทางกายภาพและชีวภาพ คุณค่าด้านองค์ความรู้ นวัตกรรม ภูมิปัญญา ศักยภาพการบริหารการจัดการ ความพร้อมในการให้บริการ ศักยภาพการดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว ตามลำดับ 2) ในการศึกษาฟาร์มสเตย์ทั้ง 3 แห่ง พบว่ากระบวนการวิธีการปฏิบัติที่ดีที่มีร่วมกันและเหมือนกัน ได้แก่ 1) ผู้นำมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กรอย่างชัดเจน การบริหารจัดการที่มีความเหมาะสม 2) วัตถุดิบที่โดดเด่นสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย 3) กระบวนการถ่ายทอดความรู้เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน 4) ความมีประสิทธิภาพของมัคคุเทศก์ในการนำเที่ยว 5) ผ่อนคลายด้วยกิจกรรมธรรมชาติบำบัดของฟาร์มเกษตร และ 6) มีการพัฒนาแนวทางการทำเกษตรแบบไร้ขีดจำกัด 3) ผู้วิจัยกำหนดกลยุทธ์เพื่อเป็นทิศทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ในพื้นที่อำเภอสะเมิง แบ่งเป็น 6 กลยุทธ์ดังนี้ 1) กลยุทธ์ส่งเสริมต้นทุนเดิม 2) กลยุทธ์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 3) กลยุทธ์พัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยว 4) กลยุทธ์การมีส่วนร่วม 5) กลยุทธ์การจัดการด้านการตลาดการประชาสัมพันธ์และโฆษณา และ 6) กลยุทธ์ด้านภาวะกลุ่มผู้นำการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบฟาร์มสเตย์ | en_US |
dc.description.sponsorship | Maejo University | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Maejo University | en_US |
dc.title | ความพร้อมและกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ ในพื้นที่ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Readiness and strategies for farm stay development in asamoeng district, Chiang Mai | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Liberal Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Peeraphon_Rattanakom.pdf | 3.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.