Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1059
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปิยรัฐ แก้วประเสริฐ-
dc.date.accessioned2022-07-04T06:37:54Z-
dc.date.available2022-07-04T06:37:54Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1059-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรของประเทศไทยและจำลองผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิต่อผลิตภัณฑ์มวลรมจังหวัดภาคการเกษตรของประเทศไทยในอนาคต โดยศึกษาข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2560 รวมทั้งหมด 14 ปี โดยที่ศึกษาข้อมูลรายจังหวัดรายปี โดยแบ่งออกเป็นทั้งหมด 7 ภาคและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการถดถอยแบบพาเนล ผลการศึกษาพบว่าภาคใต้ของประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดมากที่สุดเฉลี่ยอยู่ที่ 21,254.78 ล้านบาทต่อจังหวัดต่อปี และในภาคใต้ยังมีปริมาณน้ำฝนรวมต่อจังหวัดต่อปีมากที่สุดเฉลี่ยอยู่ที่ 2,454.64 มิลลิเมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการถือครองที่ดินภาคการเกษตรเฉลี่ยต่อจังหวัดต่อปีมากที่สุดที่ 3,358,633 ไร่ อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยอยู่ที่ 27.32 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีความแปรปรวนของอุณหภูมิเฉลี่ยมากที่สุด ในขณะที่ภาคใต้มีปริมาณน้ำฝนรวมเฉลี่ยต่อจังหวัดต่อปีมากที่สุดที่ 2,454.64 มิลลิเมตร และในภาคตะวันออกของประเทศไทยมีความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝนรวมเฉลี่ยมากที่สุดในประเทศไทย จากการวิเคราะห์การถดถอยแบบพาเนลพบว่า การถือครองที่ดินภาคการเกษตรและแนวโน้มของช่วงเวลา มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อุณหภูมิเฉลี่ยในภาคใต้ของประเทศไทยมีผลในเชิงบวกกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรของภาคใต้ ในขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของภาคตะวันออกมีผลเชิงลบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรในภาคตะวันออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความแปรปรวนของอุณหภูมิเฉลี่ยในภาคภาคเหนือ ภาคใต้และภาคตะวันออกมีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรของภาคเหนือ ภาคใต้และภาคตะวันออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนรวมเฉลี่ยภาคใต้และภาคตะวันออกมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรของภาคใต้และภาคตะวันออก อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำฝนรวมเฉลี่ยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลมีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การจำลองผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรของประเทศไทยในอนาคตภายใต้สถานการณ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแบบ A2 และ B2 ในปี 2569, 2579 และ 2589 พบว่าภายใต้สถานการณ์ A2 นั้นมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในอนาคตในขณะที่สถานการณ์ B2 มีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากกว่าสถานการณ์ A2 จากผลการวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการเกษตรของประเทศไทยของอนาคตจากภายใต้สถานการ์ A2 พบว่าในในปี พ.ศ. 2569 และ พ.ศ. 2579 ในภาคตะวันตกมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตที่ร้อยละ 23.923 และ 21.924 ในขณะที่ปี พ.ศ. 2589 ในภาคตะวันออกมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตที่ร้อยละ 23.340 ในขณะที่สถานการณ์ B2 พบว่า พ.ศ. 2569 และในปีพ.ศ. 2589 ในภาคตะวันออกมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตที่ร้อยละ 22.433 และ 24.698 และในปี พ.ศ. 2579 ในภาคตะวันตก มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตที่ร้อยละ 21.83en_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ภาคการเกษตรของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeClimate change and gross provincial product of the agricultural sector in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyarat_Kaewprasert.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.