Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1056
Title: ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในการสร้างงาน 3 มิติ ผ่านสื่อ วีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์ด้วยเทคนิคการนำเสนอที่แตกต่างกัน
Other Titles: Learning achievement of undergraduate students on the creation of 3D task through online digital video with different presentation techniques
Authors: นิภาพรรณ ทรายแก้ว
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ การสร้างงาน 3 มิติ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระดับปริญญาตรี จากการเรียนรู้ผ่านสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์แบบปกติ และสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์แบบเทคนิคพิเศษ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชั้นปีที่ 1 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ยังไม่เคยผ่านการเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างตัวอักษร 3 มิติ ในโปรแกรม Illustrator มาก่อน จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ สื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์แบบปกติ และแบบเทคนิคพิเศษ แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบวัดผลงานภาคปฏิบัติ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. นักศึกษา กลุ่มที่เรียนรู้ผ่านสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์ด้วยเทคนิคการนำเสนอแบบปกติและแบบเทคนิคพิเศษมีผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย เพิ่มขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยกลุ่มที่เรียนรู้ผ่านสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์ด้วยเทคนิคการนำเสนอแบบปกติ มีผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย เพิ่มขึ้นน้อยกว่ากลุ่มที่เรียนรู้ผ่านสื่อ วีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์ด้วยเทคนิคการนำเสนอแบบเทคนิคพิเศษ 2. นักศึกษา กลุ่มที่เรียนรู้ผ่านสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์ด้วยเทคนิคการนำเสนอแบบปกติและแบบเทคนิคพิเศษมีผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยกลุ่มที่เรียนรู้ผ่านสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์ด้วยเทคนิคการนำเสนอแบบปกติ มีผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย เพิ่มขึ้นน้อยกว่ากลุ่มที่เรียนรู้ผ่านสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์ด้วยเทคนิคการนำเสนอแบบเทคนิคพิเศษ 3. นักศึกษา กลุ่มที่เรียนรู้ผ่านสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์ด้วยเทคนิคการนำเสนอแบบปกติและแบบเทคนิคพิเศษ มีพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ดังนี้ นักศึกษาสนใจเรียนรู้เทคนิคการสร้างตัวอักษร 3 มิติ ในโปรแกรม Illustrator มากขึ้น ต้องการฝึกให้มีความเชี่ยวชาญ ต้องการนำไปใช้ร่วมกับงานออกแบบในด้านต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณาออนไลน์ งานวีดิโอ เพื่อมาปรับใช้ในการเรียน การทำงานในอนาคต ทั้งนี้นักศึกษากลุ่มที่เรียนรู้ผ่านสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์แบบปกติ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน ส่วนนักศึกษาที่เรียนรู้ผ่านสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์แบบเทคนิคพิเศษ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เนื้อหาสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ภาพคมชัดสวยงาม เสียงบรรยายชัดเจน ตัวอักษรอ่านง่าย เนื้อหาครอบคลุมเข้าใจง่าย เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1056
Appears in Collections:Liberal Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nipapan_Saikeaw.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.