Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1052
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทรงสุข บุญทาวงศ์-
dc.date.accessioned2022-07-04T04:46:20Z-
dc.date.available2022-07-04T04:46:20Z-
dc.date.issued2020-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1052-
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่องการปรับใช้ทุนทางวัฒนธรรมสำรับอาหารในคุ้มเจ้าหลวงเชียงใหม่สู่มิติการท่องเที่ยวเชิงอาหาร มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสืบค้นและฟื้นฟูสำรับอาหารในคุ้มเจ้าหลวงเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์ความหมายทางสังคมวัฒนธรรมของสำรับอาหารในคุ้มเจ้าหลวงเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวคิดการปรับใช้ทุนทางวัฒนธรรมสำรับอาหารในคุ้มเจ้าหลวงเชียงใหม่สู่มิติการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Reseach) โดยทำการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเบื้องต้น (Survey) จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาสู่กระบวนวิธีการได้มาซึ่งข้อมูลหลัก (Main Data) ประกอบด้วยข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi- Structured Interview) สำหรับสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Observation Participation) ในการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ (Key Informants) รวมถึงการสืบค้นเอกสารบันทึกร่วมสมัย (Documentary Research) จากนั้นจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาสู่การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตามลำดับวัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้พบว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม (รูปแบบการปกครอง) เป็นปัจจัยที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในราชสำนักเชียงใหม่ โดยสำรับอาหารในคุ้มเจ้าหลวงเชียงใหม่เป็นหนึ่งแขนงที่มีการปรับเปลี่ยนให้มีความปราณีตขึ้นทั้งกระบวนการเพื่อใช้รับรองอาคันตุกะ ได้แก่ การจัดรูปแบบเป็นสำรับ รูปแบบอุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร รูปแบบการรับประทานอาหาร และการแสดงนาฏศิลป์ประกอบมื้ออาหาร ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมนำไปสู่การสร้างความหมายให้กับสำรับอาหารในคุ้มเจ้าหลวงเชียงใหม่ซึ่งได้แก่ ความหมายด้านความั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ทางสังคม และวัฒนธรรมอาหารที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว การปรับใช้ทุนทางวัฒนธรรมสำรับอาหารในคุ้มเจ้าหลวงเชียงใหม่สู่มิติการท่องเที่ยวเชิงอาหาร จึงเป็นการใช้องค์ประกอบที่ถอดรูปแบบจากสถานการณ์จริงในอดีตมาสู่การสร้างการท่องเที่ยวที่รักษาคุณค่าทางวัฒนธรรมในสังคมปัจจุบัน ขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้กับนักท่องเที่ยวที่สนใจอาหารพื้นเมืองได้มีรูปแบบทางเลือกที่เพิ่มขึ้นen_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleการปรับใช้ทุนทางวัฒนธรรมสำรับอาหารในคุ้มเจ้าหลวงเชียงใหม่สู่มิติการท่องเที่ยวเชิงอาหารen_US
dc.title.alternativeThe gentrification of Chiangmai royal cuisine cultural capital to gastronomy tourismen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Songsuk_Boonthawong.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.