Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1051
Title: การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินของโรงสีข้าวพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการแปรรูปข้าวเปลือกของกลุ่มเกษตรกรตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Financial feasibility analysis of using solar energy rice mill for paddy ricr processing of farmers group in Khunkhong sub-district, Hangdong district, Chiang Mai
Authors: นงเยาว์ เต๋จ๊ะใหม่
Issue Date: 2020
Publisher: Maejo University
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์การใช้พลังงานและความคุ้มค่าทางการเงินการแปรรูปข้าวของระบบสีข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน ในเขตพื้นที่ ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้พลงงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลักร่วมกับพลังงานไฟฟ้าแของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขนาด 11 kW มีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่ เครื่องอบข้าว เครื่องสีข้าว และเครื่องบรรจุข้าว การทดสอบการแปรรูปข้าวเปลือกของเกษตรกรได้ดำเนินการ 2 เงื่อนไข คือ การแปรรูปข้าวเปลือกในช่วงฤดูปลูกข้าวนาปรัง และการแปรรูปข้าวเปลือกในช่วงฤดูปลูกข้าวนาปี การวัดค่าการใช้พลังงานเริ่มตั้งแต่การวัดความข้มแสงอาทิตย์ ปริมาณไฟฟ้าที่ได้ การใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องอบข้าว เครื่องสีข้าว และเครื่องบรรจุข้าวผลจากการวิเคราะห์พลังงานที่นำไปสู่การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินได้แก่ ค่าความเข้มรังสีอาทิตย์ช่วงฤดูปลูกข้าวนาปรังจะมีค่าความเข้มรังสีอาทิตย์เฉลี่ย 624.98 วัตต์ต่อตารางเมตร สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 72.87 หน่วย ในขณะที่ช่วงฤดูปลูกข้าวนาปีจะมีค่าความเข้มรังสีเฉลี่ยเพียง 576.20 วัตต์ต่อตารางเมตร สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 70.31 หน่วย เมื่อวิเคราะห์การใช้งานโรงสีข้าวแบบครบวงจรในช่วงฤดูปลูกข้าวนาปรังที่ระยะเวลาการผลิตได้ 62 วัน เครื่องอบข้าว เครื่องสีข้าว และเครื่องบรรจุข้าวมีกำลังการผลิตตลอดฤดูกาล คือ 121,520 122,512 และ 42,160 กิโลกรัม ตามลำดับ มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องอบข้าว เครื่องสีข้าว และเครื่องบรรจุข้าว คือ 1,386 3,700 และ 447 หน่วย ตามลำดับ ในขณะที่ช่วงฤดูปลูกข้าวนาปีมีระยะเวลาในการผลิต 96 วัน เครื่องอบข้าว เครื่องสีข้าว และเครื่องบรรจุข้าวมีกำลังการผลิต คือ 188,160 189,696 และ 65,280 กิโลกรัม ตามลำดับ มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องอบข้าว เครื่องสีข้าว และเครื่องบรรจุข้าว คือ 2,145 5,729 และ 691หน่วย ตามลำดับ การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางด้านการเงินของการแปรรูปข้าวเปลือกตลอดทั้งปีมีรายได้สุทธิของเกษตรกร 1,251,860 บาทต่อปี ให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 3,908,969 บาท อัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับร้อยละ 21 และระยะเวลาคืนทุน 3.41 ซึ่งการใช้งานโรงสีข้าวพลังงานอาทิตย์แบบครบวงจรสำหรับการแปรรูปข้าวเปลือกมีความคุ้มค่าแก่การลงทุน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1051
Appears in Collections:ENG-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nongyao_Tejamai.pdf6.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.