Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1049
Title: พฤติกรรมผู้มาเยือนศูนย์การเรียนรู้โครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Visitors' behavior at thelerning center of Chiang Mai royal project foundation
Authors: พนิตา ศิริเกษร
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้มาเยือนศูนย์การเรียนรู้โครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวของผู้มาเยือนศูนย์การเรียนรู้โครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและแรงจูงใจทางการท่องเที่ยว ศูนย์การเรียนรู้โครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ในพื้นที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง,สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์,ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก,ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย(ม่อนแจ่ม) ทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ได้แก่นักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน แบ่งตามพื้นที่ 4 ศูนย์ พื้นที่ละ 100 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สหสมพันธ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ ผลการศึกษาพฤติกรรมผู้มาเยือนในศูนย์การเรียนรู้โครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าผู้ให้ข้อมูลโดยส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด มีอายุน้อยกว่า 30 ปี ภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพนักศึกษา และรายได้เฉลี่ยน้อยกว่า 15000 บาทต่อเดือน พฤติกรรมผู้มาเยือนศูนย์การเรียนรู้โครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้มาเยือนเคยเดินทางมายังแหล่งท่องเที่ยว มากกว่า 2 ครั้ง ร้อยละ 22.5 และใช้ระยะเวลาในการเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นเวลา 1 วัน ร้อยละ 48.8 เดินทางมาร่วมกัน 2-3 คนมีความสัมพันธ์เป็นเพื่อนกันมากที่สุด ร้อยละ 38.8 โดยใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเป็นพาหนะเดินทาง การตัดสินใจพักแรมนิยมพักในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ ร้อยละ 29.5 และพักแรมที่ศูนย์การเรียนรู้โครงการหลวงอินทนนท์และอ่างขาง ร้อยละ 28.2 ผู้มาเยือนโดยส่วนใหญ่ตัดสินใจท่องเที่ยวโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนมาก ร้อยละ 67.25 ผู้มาเยือนมีความคาดหวังต่อกิจกรรมระดับมาก ร้อยละ 44.8 ผู้มาเยือนมีการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ระดับมาก ร้อยละ 45.8 แรงจูงใจผู้มาเยือนในศูนย์การเรียนรู้โครงการหลวง แรงจูงใจที่ทำให้ผู้มาเยือนเลือกเดินทางมายังศูนย์การเรียนรู้โครงการหลวงมีแรงจูงใจมาจากปัจจัยภายในตัวบุคลคลมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.87 อยู่ในระดับความสำคัญมาก แรงจูงใจจากปัจจัยภายนอก มีค่าเฉลี่ย 3.78 แรงจูงใจจากปัจจัยที่มาจากความต้องการอยู่ในระดับความสำคัญมาก ปัจจัยที่มาจากความต้องการ 3.75 อยู่ในระดับความสำคัญมาก ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม และแรงจูงใจทางการท่องเที่ยว ศูนย์การเรียนรู้โครงการหลวง พบว่าการวางแผนการเดินทางมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับความต้องการพักผ่อนส่วนบุคคล ระดับน้อย ส่วนการเรียนรู้ในการมาเยือนกับความต้องการศึกษา เรียนรู้ของบุคคลมีความสัมพันธ์ไปทิศทางเดียวกัน เช่นเดียวกับความคาดหวังกับกิจกรรมในพื้นที่ กับความต้องการในเรื่องการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน แต่ระดับความสัมพันธ์ค่อนข้างน้อย
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1049
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panita_Sirigasorn.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.