Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1048
Title: การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Titles: Sustainable tourism management of Kuiburi national park Kuiburi district prachuap Jhiri Khan province
Authors: กิตติพันธุ์ ประสิทธิ์
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: การวิจัยเรื่องการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบถึงบริบทของของพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3) เพื่อกำหนดการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้คือ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีจำนวน 5 คน กลุ่มชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรีจำนวน 59 คน และนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาใช้บริการท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรีจำนวน 380 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแลลสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาและค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า อุทยานแห่งชาติกุยบุรีเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติสูงและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด ในปัจจุบันอุทยานแห่งชาติกุยบุรีมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยร่วมกับชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรีในการให้บริการด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับสัตว์ป่า และเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในท้องถิ่น รวมถึงเป็นการกระจายรายได้ให้กับประชาชนที่อยู่อาศัยโดยรอบอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ในด้านการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติกุยบุรีพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวของกลุ่มชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษสัตว์ป่ากุยบุรีทั้ง 5 ด้าน ระดับการมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ยรวม 4.02) โดยด้านร่วมกันปฏิบัติตามแผน (ค่าเฉลี่ย 4.51) ร่วมบำรุงรักษา (ค่าเฉลี่ย 4.50) และร่วมกันวางแผน (ค่าเฉลี่ย 4.24) ระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด ร่วมติดตามและประเมินผล (ค่าเฉลี่ย 3.89)ระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ร่วมกันใช้ประโยชน์ (ค่าเฉลี่ย 2.94)ระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ และในส่วนของความคิดเห็นในการจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติกุยบุรีทั้ง 6 ด้าน ชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรีมีระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.30) โดยด้านกิจกรรมต่างๆด้านการท่องเที่ยว (ค่าเฉลี่ย 4.62) ด้านสิ่งดึงดูดใจ (ค่าเฉลี่ย 4.53) ด้านที่พัก (ค่าเฉลี่ย 4.36) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (ค่าเฉลี่ย 4.32) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมาก ด้านองค์ประกอบของการบริการ (ค่าเฉลี่ย 4.11) และด้านคมนาคม (ค่าเฉลี่ย 3.88) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับค่อนข้างดี สำหรับนักท่องเที่ยวมีระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.48) โดยด้านที่พัก (ค่าเฉลี่ย 4.52) ด้านสิ่งดึงดูดใจ (ค่าเฉลี่ย 4.52) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (ค่าเฉลี่ย 4.51) ด้านคมนาคม (ค่าเฉลี่ย 4.50) ด้านอง์ประกอบของการบริการ (ค่าเฉลี่ย 4.44) และด้านกิจกรรมต่างๆด้านการท่องเที่ยว (ค่าเฉลี่ย 4.40) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมาก นอกจากนี้ยังพบว่ากระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับการจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติกุยบุรีอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยการกำหนดการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติกุยบุรีพบว่า การกำหนดการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติกุยบุรีคือการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวของชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี ซึ่งผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาและใช้เป็นข้อมูลสำหรับแผนกลยุทธ์ของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี เพื่อใช้ในการสนับสนุนและให้ความสำคัญต่อกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1048
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kittiphan_Prasit.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.