Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1043
Title: การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านสักงาม ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Developing a model of Baan Pasakngam community-vased tourism management, Luang Nuea sub-district, Doi Saket district, Chiang Mai province
Authors: ศศิธร บัวมะลิ
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านป่าสักงาม ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทของการบริหารจัดการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านป่าสักงาม 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของบ้านป่าสักงาม และ 3) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านป่าสักงาม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก กับหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในพื้นที่ชุมชนบ้านป่าสักงาม และการสนทนากลุ่มกับสมาชิกในชุมชนบ้านป่าสักงาม รวมไปถึงการสังเกตุแบบมีส่วนร่วม ส่วนการวิเคราะห์ผู้วิจัยจะใช้หลักการจำแนกข้อมูล เรียบเรียงข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูลในการวิเคราะห์ตามกรอบการวิจัยที่วางไว้ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านป่าสักงามมีทรัพยากรทางระบบนิเวศ และวัฒนธรรม ที่เหมาะแก่การเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยมีปัจจัยภายนอกที่มีแนวโน้มในการสนับสนุนและผลักดันให้ชุมชนมีรายได้จากการจัดการท่องเที่ยว เช่น หน่วยงานภาครัฐที่มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นกิจกรรมหลักในการสร้างรายได้ให้กับชุมชน และมีปัจจัยภายในที่สำคัญคือ สมาชิกกลุ่มในชุมชนมีความพร้อมด้านการบริหารจัดการองค์กร พื้นที่ รวมถึงกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างสมาชิกในชุมชนกับนักท่องเที่ยว ซึ่งชุมชนได้ออกแบบและพัฒนากิจกรรมเพื่อบริการนักท่องเที่ยว ในรูปแบบที่ผสมผสานระหว่างการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม และรูปแบบการท่องเที่ยวในความความสนใจพิเศษ ออกมาเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 รูปแบบ 3 โปรแกรมท่องเที่ยว คือ 1) รูปแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มี 2 โปรแกรมการท่องเที่ยว คือ เที่ยว1 วัน (1 Day Trip) เที่ยว 2 วัน 1 คืน (2 Day 1 Night) โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือนักท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ มีอายุระหว่าง 25 – 55 ปี เป็นกลุ่มเพื่อน คู่รัก หรือครอบครัว ที่ต้องการการพักผ่อนและเรียนรู้ช่วงวันหยุดสั้นๆ ในบรรยากาศชนบท 2) รูปแบบศึกษาดูงาน มีโปรแกรมเป็นค่ายสิ่งแวดล้อม 3 วัน 2 คืน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียน-เยาวชน เน้นปลูกฝังจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม ดำเนินการโดยกลุ่มองค์กรชุมชน ได้แก่ กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชน กลุ่มพิทักษ์ป่า กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มอาชีพ ซึ่งมีการแบ่งบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบตามความเหมาะสม และ 3) รูปแบบจิตอาสา เป็นกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ที่จัดขึ้นเพิ่มเติมเมื่อชุมชนต้องการอาสาสมัคร โดยจะใช้วิธีประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นทางโซเชียลมีเดีย ทั้งนี้การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านป่าสักงามนั้นได้คำนึงถึงการกระจายผลประโยชน์สู่ชุมชน โดยสนับสนุนการผลิตและจำหน่ายสินค้าที่ผลิตโดยคนในชุมชนเท่านั้น และออกแบบให้ยังคงวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนไว้ เช่น ความเชื่อ ประเพณี อีกทั้งการร่วมรักษาทรัพยากรในพื้นที่ จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1043
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasitorn_Buamali.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.