Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1041
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพลกฤต รักจุล-
dc.date.accessioned2022-07-04T04:18:22Z-
dc.date.available2022-07-04T04:18:22Z-
dc.date.issued2020-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1041-
dc.description.abstractในสภาวะการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและรวดเร็ว องค์กรจะจัดการกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้จำเป็นที่จะต้องจัดการภายในองค์กรให้มีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้วยการจัดการกับคนในองค์กร ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะด้านองค์ความรู้ของผู้ปฏิบัติงานทุกๆตำแหน่งและหน้าที่ด้วยการธำรงรักษาองค์ความรู้ต่างๆเหล่านี้ให้คงอยู่คู่กับองค์กรให้ได้นานที่สุด โดยใช้ทฤษฎีความผูกพันของพนักงานเป็นสื่อกลาง และทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นตัวแปรกำกับ เพื่อค้นหาผลกระทบต่อการตั้งใจที่จะคงอยู่ของพนักงานและเป็นแนวทางในการลดปัญหาการหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านของพนักงานระดับปฏิบัติการ จากการทบทวนวรรณกรรมที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นผู้วิจัยจึงสนใจการศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความผูกพัน ที่มีผลต่อความความตั้งใจที่จะคงอยู่ของพนักงานในธุรกิจร้านสะดวกซื้อของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นในเรื่องความตั้งใจที่จะคงอยู่ของพนักงานทั้งนี้ผลของการศึกษาจะช่วยให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงความผูกพันของพนักงานและความตั้งใจที่จะคงอยู่ของพนักงาน ภายใต้บริบทขององค์กรธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ดังนั้นงานวิจัยนี้มุ่งตอบคำถาม คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลอย่างไรต่อความผูกพันและความตั้งใจที่จะคงอยู่ของพนักงานในธุรกิจร้านสะดวกซื้อของประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานในธุรกิจร้านสะดวกซื้อของประเทศไทยที่ขึ้นทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ หลังจากดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลมีแบบสอบถามที่ถูกต้องและสมบูรณ์ จํานวน 586 ชุด ของกลุ่มตัวอย่างถือว่าเป็นอัตราการตอบกลับมาที่ยอมรับได้ ผู้วิจัยนำข้อมูลดังกล่าวมาทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (SEM) ด้วยวิธีการ Maximum Liklihood ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความผูกพันของพนักงานโดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.64 และมีขนาดอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.64 ความผูกพันของพนักงานมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะอยู่โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.38 และมีขนาดอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.38 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะอยู่โดยผ่านความผูกพันของพนักงานโดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.12 มีขนาดอธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.26 และมีขนาดอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.38 สำหรับค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์(R2) ของสมการโครงสร้างตัวแปรแฝงภายใน พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์(R2) ของความผูกพันของพนักงานมีค่าเท่ากับ 0.42 หรือตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความผูกพันของพนักงานได้ร้อยละ 42และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์(R2) ของ่ความตั้งใจที่จะอยู่มีค่าเท่ากับ 0.22 หรือตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจที่จะอยู่ได้ร้อยละ 22 นอกจากนั้นแล้วจะช่วยให้ผู้บริหาร ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการองค์กรภาครัฐและเอกชน สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นแนวทางในการวางแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์ในการบริหารจัดการโครงสร้าง นโยบาย การจัดการความรู้ อันนำไปสู่การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนen_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleการศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความผูกพันที่มีผลต่อความตั้งใจจะคงอยู่ของพนักงานในธุรกิจร้านสะดวกซื้อของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeThe influence of transformational leadership and employees engagement on intention to stay of employees for the convenience store in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ponkrit_Rakjul.pdf5.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.