Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1038
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | จตุรงค์ บุนนาค | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-04T04:01:36Z | - |
dc.date.available | 2022-07-04T04:01:36Z | - |
dc.date.issued | 2020 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1038 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของเงินบาทที่มีต่อการค้าชายแดนไทย-ลาว 2) วิเคราะห์ผลกระทบของตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีต่อมูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาว และ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมบทบาทของเงินบาทต่อการค้าชายแดนไทย-ลาว เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึกจากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 2 กลุ่มๆละ 10 คน และ 6 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยแบบจำลอง Vector Error Correction Model (VECM) โดยใช้ข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือน ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2550 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2561 และมีตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ 7 ตัวแปร ได้แก่ มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาว อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของไทย ดัชนีราคาผู้บริโภคไทย อัตราแลกเปลี่ยนกีบต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของลาว และดัชนีราคาผู้บริโภคลาว ผลการศึกษาบทบาทของเงินบาทที่มีต่อการค้าชายแดนไทย-ลาว จากการศึกษาเอกสาร พบว่า เงินบาทเริ่มมีบทบาทในการค้าชายแดนไทย-ลาว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ซึ่งเป็นช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวยกระดับดีขึ้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537 ไทยและลาวได้เปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 1 ทำให้มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เงินบาทเข้ามามีบทบาทในการค้าชายแดนไทย-ลาวเพิ่มขึ้น และจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย พบว่า 1) รูปแบบการค้าชายแดนไทย-ลาว ได้ถูกแบ่งออกเป็น การค้าในระบบ และการค้านอกระบบ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดยการค้านอกระบบมีมูลค่ามากกว่าการค้าในระบบ 1-2 เท่า เพราะสินค้าที่นำเข้าจากการค้านอกระบบมีราคาถูก จึงทำให้ผู้ประกอบการนำเข้า เลือกรูปแบบการค้าแบบผสมผสานทั้ง 2 รูปแบบ 2) บทบาทเงินบาทต่อการค้าชายแดนไทย-ลาว พบว่า มีการใช้เงินบาทมากกว่าร้อยละ 60 ของการค้าในระบบ และใช้เงินบาทมากกว่าร้อยละ 80 ของการค้านอกระบบ นอกจากนี้ภายในลาวยังมีการใช้เงินบาทมากกว่าร้อยละ 50 ของระบบการเงินลาว และบทบาทเงินบาทต่อการค้าชายแดนไทย-ลาว ร้อยละ 75 ของเจ้าหน้าที่รัฐเห็นว่าเงินบาทมีบทบาทต่อการค้าชายแดนไทย-ลาว และร้อยละ 75 ของผู้ประกอบการเห็นว่าการค้าชายแดนไทย-ลาวมีบทบาทต่อเงินบาท และร้อยละ 50 ของผู้ชำนาญการค้าชายแดนเห็นว่าการค้าชายแดนไทย-ลาวมีบทบาทต่อเงินบาท การวิเคราะห์ผลกระทบของตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีต่อมูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาว พบว่า ผลกระทบของตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคแต่ละตัวแปรต่อมูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาว มีขนาดที่ไม่เท่ากัน โดยที่ดัชนีราคาผู้บริโภคไทย และอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ มีผลกระทบต่อมูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยดัชนีราคาผู้บริโภคไทยมีขนาดผลกระทบมากที่สุด แนวทางการส่งเสริมบทบาทของเงินบาทต่อการค้าชายแดนไทย-ลาว พบว่า ในส่วนของบทบาทเงินบาทกับการค้าชายแดนไทย-ลาวมีความสัมพันธ์กัน โดยเงินบาทมีบทบาทสำคัญในการเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่การค้าชายแดนไทย-ลาว และการค้าชายแดนไทย-ลาวเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้บทบาทของเงินบาทมีการเปลี่ยนแปลง ในส่วนแนวทางการส่งเสริมบทบาทของเงินบาทเพื่อให้มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวเพิ่มสูงขึ้นมีแนวทางที่สำคัญดังต่อไปนี้ 1) ส่งเสริมการค้าชายแดนไทย-ลาว เช่น ลดขั้นตอนด้านศุลกากร 2) พัฒนาช่องทางการเงิน เช่น การชำระค่าสินค้าโดยใช้ระบบอิเลคทรอนิกส์และ 3) ส่งเสริมการลงทุนของไทยในลาว เช่น รัฐบาลไทยควรหาแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำให้แก่นักลงทุนไทยที่จะเข้าไปลงทุนในลาว | en_US |
dc.description.sponsorship | Maejo University | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Maejo University | en_US |
dc.title | เงินบาทกับการค้าชายแดนไทย-ลาว | en_US |
dc.title.alternative | Thai baht and Thailand-Laos border trade | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Economics |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jaturong_Bunnag.pdf | 7.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.