Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1036
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน
Other Titles: The development of a management model for the existence of a sufficiency economy village model in upper northern Thailand
Authors: สุวิชาญ ทุนอินทร์
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและสถานการณ์ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบนทั้งระดับหมู่บ้านและสมาชิก และ 3) พัฒนารูปแบบการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน มีวิธีการศึกษาแบบผสมผสานเป็นการศึกษาทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรที่ทำการศึกษาได้แก่ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ที่ได้รับการรับรองจากกรมการพัฒนาชุมชน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน ลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา จากนั้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายได้กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดลำปาง แพร่ น่าน และพะเยา ได้กลุ่มตัวอย่างรวมกันทั้งหมด 158 หมู่บ้าน และตัวแทนที่เป็นสมาชิกหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 790 คน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ และสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา ด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น การใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆต่อการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่บ้านและสมาชิกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ในภาคเหนือตอนบนโดยมีผลการศึกษาดังนี้ ในด้านบริบทและสถานการณ์หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน พบว่า การริเริ่มเข้าสู่การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบนั้น หมู่บ้านเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานสำนกงานพัฒนาชุมชนแต่ละจังหวัด ให้พัฒนาตนเองและคนในหมู่บ้าน เพื่อยกระดับและเป็นตัวอย่างที่ดีกว่าหมู่บ้านอื่น จะได้รับการประเมินจากหน่วยงานที่รับผิดชอบภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยเมื่อผ่านการประเมินก็จะได้รับการประกาศเกียรติคุณให้กับหมู่บ้านเป็น “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ” ซึ่งจะเป็นต้นแบบในระดับใดนั้นแล้วแต่ความพร้อมและศักยภาพของแต่ละหมู่บ้านซึ่งมีอยู่ 3 ระดับที่ไม่จำเป็นต้องผ่านตามระดับได้แก่ “พออยู่ พอกิน” “อยู่ดี กินดี” และ “มั่งมี ศรีสุข” ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำหมู่บ้านและสมาชิกหมู่บ้านให้อยู่อย่างมีความสุขและยั่งยืน ด้านระดับการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่บ้าน และสมาชิกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือพบว่าหมู่บ้านและสมาชิกมีระดับการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านจิตใจและสังคม (4.13, 3.97) ด้านเศรษฐกิจ (3.85, 3.70) ด้านการเรียนรู้ (3.84, 3.65) และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (3.81, 3.65) ตามลำดับ ซึ่งผลเฉลี่ยแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 ตามลำดับ) ในด้านการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบนทั้งในระดับหมู่บ้านและสมาชิกหมู่บ้าน ผลการศึกษาพบว่า ในระดับหมู่บ้านตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเพื่อการดำรงอยู่โดยรวมทั้ง 4 ด้านของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน คือ ระยะเวลาการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และอาชีพหลัก มีระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 0.01 ตามลำดับ ระดับสมาชิกหมู่บ้าน ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของสมาชิกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน คือ เงินสะสมในหมู่บ้าน และการเข้าร่วมกิจกรรม มีระดับนัยสำคัญ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ในด้านการพัฒนารูปแบบการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่บ้านและสมาชิกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน รูปแบบที่ได้จากการพัฒนาโดยการนำปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่บ้านและสมาชิกทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านจิตใจและสังคม คือ การสร้างความเข้าใจให้กับสมาชิกในชุมชนรับรู้ถึงการเข้ามามีส่วนร่วม การเข้าร่วมประชุมและการเสนอให้ภาครัฐเข้ามาช่วยส่งเสริมในการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต 2) ด้านเศรษฐกิจคือการช่วยเหลือสมาชิกด้านหนี้สินส่งเสริมเข้าร่วมกลุ่มกองทุนต่างๆ ในหมู่บ้านและส่งเสริมการประกอบอาชีพในหมู่บ้านเพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจให้เกิดการหมุนเวียนในหมู่บ้าน 3) ด้านการเรียนรู้คือการส่งเสริมสร้างศูนย์การเรียนรู้ สร้างแหล่งถ่ายทอดความรู้ในหมู่บ้านและสืบทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น และ 4) ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมคือการร่วมสร้างจิตสำนึกให้เกิดการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าและสูงสุด
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1036
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwichan_Tunin.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.