Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1035
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorไกรสร แสนวงค์-
dc.date.accessioned2022-07-04T03:52:44Z-
dc.date.available2022-07-04T03:52:44Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1035-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยใช้วัฒนธรรมชุมชนเป็นฐาน ของชุมชนบ้านป่าเห็ว ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการจัดการสุขภาวะในชุมชน 2) เพื่อวิเคราะห์และรื้อฟื้นวัฒนธรรมชุมชนในการจัดการสุขภาวะในชุมชน 3) เพื่อถอดประสบการณ์ในการรื้อฟื้นวัฒนธรรมชุมชนในการจัดการสุขภาวะในชุมชน และ 4) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยใช้วัฒนธรรมชุมชนเป็นฐาน โดยอาศัยปรัชญากลุ่มปรากฎการณ์นิยม (Phenomenology) เป็นพื้นฐานในการศึกษาวิจัยด้วยวิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ( Qualitative research ) ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ด้วยการจัดทำเวทีชุมชน สำรวจสืบค้นวัฒนธรรมชุมชน สังเกตแบบมีส่วนร่วม และสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้างในชุมชนผลการศึกษาพบว่า การจัดการสุขภาวะชุมชนบ้านป่าเห็ว มีสถานการณ์ระบบสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะชุมชน มีระบบการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาวะชุมชน ได้แก่ การคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นของชุมชน การเฝ้าระวังด้านสุขภาพชุมชน การส่งต่อผู้ป่วยในชุมชน และมีเครือข่ายชุมชน ที่ขาดการเชื่อมโยงในการรักษา ดูแล และป้องกัน เกิดมิติทางสังคมที่ขาดการหนุนเสริมซึ่งกันและกัน ปัจจัยและเงื่อนไขสำคัญคือขาดการนำวัฒนธรรมชุมชนมาใช้ในการจัดการสุขภาวะ ชุมชนจึงเกิดความตระหนักในระบบสุขภาวะชุมชน ได้มีการค้นหาและวิเคราะห์คุณค่าของวัฒนธรรมชุมชน ประกอบด้วย วัฒนธรรมแบบแผนชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมทางศาสนา ความเชื่อและประเพณี และวัฒนธรรมการละเล่นการพักผ่อนหย่อนใจ นำไปสู่การรื้อฟื้นวัฒนธรรมชุมชน ได้แก่ วัฒนธรรมการกิน ด้วยการสร้างแบบแผนที่ให้คนในชุมชนเกิดการเรียนรู้ที่เท่าทันถึงผลกระทบต่อพฤติกรรมการกินที่ส่งผลต่อสุขภาพ การจัดการระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัยในชุมชน วัฒนธรรมวิถีทางศาสนา ด้วยการสร้างพื้นที่และโอกาสสำหรับคนในชุมชนได้พบปะแลกเปลี่ยน และร่วมจัดกิจกรรมภายใต้สภาพแวดล้อม ระยะเวลา ที่เหมาะสมกับระบบสังคม และวัฒนธรรมการละเล่น ด้วยการสร้างแบบแผนที่คนในชุมชนได้มีพื้นที่และโอกาสในการละเล่นพักผ่อนหย่อนใจ การออกกำลังกาย การบำบัดด้านจิตใจ การส่งเสริมมิติทางระบบความสัมพันธ์ของคนในชุมชน รูปแบบการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยใช้วัฒนธรรมชุมชนเป็นฐาน จึงเป็นจัดการชุมชนด้วยการนำวัฒนธรรมชุมชนมาส่งเสริมและพัฒนาคนในชุมชนให้มีสุขภาวะทางจิตวิญญาณ ที่กำหนดสติกำกับรู้เท่าทันต่อสุขภาพของตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางกายด้วยการดำรงชีวิตที่เน้นความมีสุขภาวะทางกาย สามารถเผชิญต่อสภาวะความเจ็บป่วย และสุขภาวะทางสังคมที่มีความสัมพันธ์ เอื้อเฟื้อ เกื้อกูลในชุมชน ควบคุมอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ที่ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนได้อย่างปกติสุข การจัดการสุขภาวะชุมชนประกอบด้วย 1) การกำหนดฐานคิดของการทำงานของคนในชุมชน 2) กระบวนการจัดการสุขภาวะชุมชน ต้องดำเนินการภายใต้การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ที่สร้างแรงจูงใจให้คนในชุมชนได้ตระหนักและเข้าร่วมกิจกรรม 3) โครงสร้างและเครือข่ายชุมชนที่สอดคล้องกับการจัดการสุขภาวะชุมชนที่เป็นอยู่ 4) การควบคุมติดตามและประสานงาน การจัดการสุขภาวะชุมชนเป็นฐานมีแนวโน้มที่ทำให้คนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดีขึ้นen_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleรูปแบบการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยใช้วัฒนธรรมชุมชนเป็นฐานen_US
dc.title.alternativeA model of community health management based on community cultureen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kraisorn_Sanwong.pdf6.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.