Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1033
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | จริยา โกเมนต์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-04T03:49:48Z | - |
dc.date.available | 2022-07-04T03:49:48Z | - |
dc.date.issued | 2019 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1033 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการก่อเกิดและพลวัตรของนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนของประเทศไทย 2) ศึกษาความเป็นปึกแผ่นของชุมชนท่องเที่ยว 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 4) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงนโยบายที่ส่งผลต่อความเป็นปึกแผ่นของชุมชนท่องเที่ยว และ 5) เสนอแนวทางการผลักดันนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อหนุนเสริมความเป็นปึกแผ่นของชุมชน วิธีการวิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยเชิงสำรวจ การศึกษารายกรณี และการประชุมกลุ่มย่อย ประชากรเป็นชุมชนท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบน รวม 88 ชุมชน ทำการสุ่มตัวอย่างได้ตัวอย่างในระดับชุมชน 56 ชุมชน และระดับครัวเรือน 672 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Mplus 8 สถิติที่ใช้เป็นสถิติพรรณนา (Descriptive Statistic) และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างพหุระดับ (Multilevel Structural Equation Model: MSEM) ผลการวิจัยมีดังนี้ นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเกิดจากความพยายามของภาครัฐในการสร้างกลไกการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อลดปัญหาและผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อม จากการท่องเที่ยว และมุ่งตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ การกำหนดและส่งเสริมนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนของประเทศไทยมีลักษณะเป็นพลวัตร โดยเริ่มจากยุคการท่องเที่ยวแบบมวลชน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวโดยชุมชน สู่การพัฒนาที่อะไรๆ ก็ท่องเที่ยวชุมชน โดยภาครัฐใช้เครื่องมือในการพัฒนาที่แตกต่างกัน และการเปลี่ยนแปลงนโยบายในแต่ละยุคสมัยได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชน โดยเฉพาะแบบแผนความสัมพันธ์ในชุมชน ประกอบกับกลไกการมีส่วนร่วมและการแบ่งปันผลประโยชน์ในชุมชนที่ไม่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมชุมชนได้ส่งผลต่อความเป็นปึกแผ่นของชุมชน ผลการศึกษาความเป็นปึกแผ่นของชุมชนท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนประเทศไทย พบว่า โดยภาพรวม ชุมชนท่องเที่ยวมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและตระหนักในความเป็นชุมชนเดียวกันอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อวิเคราะห์แยกในแต่ละมิติ พบว่า มิติที่มีความเป็นปึกแผ่นมากที่สุด คือ การบูรณาการทางวัฒนธรรม การบูรณาการทางบรรทัดฐาน การบูรณาการทางการหน้าที่ และการบูรณาการทางการสื่อสาร ตามลำดับ ผลการตรวจสอบความตรงของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่าค่า Chi–square = 226.204, df = 195, p = 0.0605, Chi–square/df = 1.166, ค่าดัชนี CFI = 0.999, TLI = 0.999, RMSEA = 0.006, SRMRW = 0.012 , SRMRB = 0.042 แสดงว่ารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นปึกแผ่นของชุมชนที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และกรอบแนวคิดการวิจัยมีพลังในการอธิบายความเป็นปึกแผ่นของชุมชน ผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นปึกแผ่นของชุมชนท่องเที่ยว พบว่าในระดับครัวเรือน ปัจจัยด้านการตอบสนองของครัวเรือนต่อนโยบายท่องเที่ยวชุมชน และผลประโยชน์จากการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความเป็นปึกแผ่นของชุมชนได้ร้อยละ 40.50 (R2 = 0.405, P<0.05) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความเป็นปึกแผ่นของชุมชนมากที่สุด คือ การตอบสนองของครัวเรือนต่อนโยบายท่องเที่ยวชุมชน (Beta = 0.658, P<0.05) และผลประโยชน์จากการจัดการท่องเที่ยวชุมชน (Beta = 0.388, P<0.05) อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาในระดับชุมชน พบว่าปัจจัยด้านผลของนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อชุมชน การสนับสนุนจากภายนอก การจัดการท่องเที่ยวภายในชุมชน และระยะเวลาการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความเป็นปึกแผ่นของชุมชนได้ร้อยละ 76.80 (R2 =0.768, P<0.05) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อความเป็นปึกแผ่นของชุมชนมากที่สุด คือ การจัดการท่องเที่ยวภายในชุมชน (Beta = - 0.502, P<0.05) รองลงมาเป็นผลของนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อชุมชน การสนับสนุนจากภายนอก และระยะเวลาการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ตามลำดับ แนวทางการผลักดันนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อหนุนเสริมความเป็นปึกแผ่นของชุมชนต้องมีการดำเนินการทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการในชุมชน โดยในระดับนโยบาย ควรให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และหน่วยงานที่มีพันธกิจหลักต้องมีการบูรณาการและสื่อสารกันเพื่อให้การทำงานไปในทิศทางเดียวกัน และระดับปฏิบัติการ หน่วยงานที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนต้องมีกระบวนการในการคัดเลือกชุมชน และทบทวนถึงภารกิจเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน และต้องสร้างความเข้าใจในนโยบายแก่สมาชิกในชุมชนก่อนทำการปฏิบัติ นอกจากนี้ การจัดการท่องเที่ยวในชุมชนต้องเป็นมติร่วมกันของคนในชุมชน และต้องนำเอาแนวคิดการจัดการท่องเที่ยวมากลั่นกรองก่อนดำเนินการ โดยทุกชุมชนควรมีนวัตกรรมในการหนุนให้สมาชิกในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม รวมทั้งมีการสร้างคนรุ่นใหม่เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการจัดการ อีกทั้ง ต้องให้ความสำคัญกับการประเมินผล เพื่อให้ชุมชนได้ทบทวนการปฏิบัติงานที่ผ่านมา และหาแนวทางในการปรับปรุงและให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น | en_US |
dc.description.sponsorship | Maejo University | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Maejo University | en_US |
dc.title | อิทธิพลของนโยบายการส่งเสิรมการท่องเที่ยวชุมชนต่อความเป็นปึกแผ่นของชุมชนท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | Influence of community based tourism policy on solidarity of tourism communities in upper northern region, Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | ENG-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jariya_Koment.pdf | 5.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.