Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1032
Title: การนำนโยบายการยกระดับองค์กรการเงินชุมชนให้เป็นสถาบันการเงินชุมชนบ้านทุ่งฮ้าง ไปสู่การปฏิบัติ
Other Titles: Making a policy on the cmmunity financial organization into practice for upgrading the organization to be Baan Thung Hang community financial institute
Authors: พสิษฐา เต็งนิยม
Issue Date: 2018
Publisher: Maejo University
Abstract: การวิจัยเรื่องการนำนโยบายการยกระดับองค์กรการเงินชุมชนให้เป็นสถาบันการเงินชุมชนบ้านทุ่งฮ้างไปสู่การปฏิบัติ มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1.เพื่อศึกษาผลของการนำนโยบายการยกระดับองค์กรการเงินชุมชนให้เป็นสถาบันการเงินชุมชนบ้านทุ่งฮ้างไปสู่การปฏิบัติ 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลของการนำนโยบายการยกระดับองค์กรการเงินชุมชนให้เป็นสถาบันการเงินชุมชนบ้านทุ่งฮ้างไปสู่การปฏิบัติ การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกใช้การวิจัยแบบผสม โดยผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพจะจัดเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมานจะจัดเก็บข้อมูลเชิงปริมานโดยใช้แบบสอบถามจากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่/คณะกรรมการสถาบันการเงินชุมชน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาเทศบาล เจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลทุ่งผึ้ง เจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสมาชิกสถาบันการเงินชุมชน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทั้งหมด 270 คน วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากการสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน(Inference Statistics) คือ เทคนิคสมการถดถอยเชิงเส้น(Multiple Regression) เพื่อประมาณหาค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุของตัวแปรอิสระต่อตัวแปรตาม และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้เลือกใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากเนื้อหา(Content Analysis) โดยใช้การพรรณาขยายความต่อไป(Descriptive Analysis) ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามปลายเปิด โดยนำมาประกอบกับแนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อแปรผล ผลการวิจัย พบว่า ผลของการนำนโยบายการยกระดับองค์กรการเงินชุมชนให้เป็นสถาบันการเงินชุมชนบ้านทุ่งฮ้างไปสู่การปฏิบัติ ส่งผล 4 ด้าน โดยเรียงลำดับตามระดับความคิดเห็นเฉลี่ย กล่าวคือ เห็นด้วยระดับสูงสุด คือ เป็นแหล่งเก็บออมเงินที่มีความมั่นคง (Xˉ= 4.38 , S.D. = 0.65) รองลงมาคือ ความหลากหลายของบริการที่ให้แก่ชุมชน (Xˉ = 4.34 , S.D. = 0.67) รองลงมาคือ ความสามารถในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนของสถาบันการเงินชุมชน (Xˉ= 4.32 , S.D. = 0.65) และต่ำที่สุดคือ การขยายโอกาสเข้าถึงและให้บริการทางการเงินแก่สมาชิก (Xˉ = 4.29, S.D. = 0.70) และส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อผลของการนำนโยบายการยกระดับองค์กรการเงินชุมชนให้เป็นสถาบันการเงินชุมชนบ้านทุ่งฮ้างไปสู่การปฏิบัติ จากข้อมูลอิทธิพลเชิงสาเหตุเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลของการนำนโยบายการยกระดับองค์กรการเงินชุมชนให้เป็นสถาบันการเงินชุมชนบ้านทุ่งฮ้างไปสู่การปฏิบัติ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อผลของการนำนโยบายการยกระดับองค์กรการเงินชุมชนให้เป็นสถาบันการเงินชุมชนบ้านทุ่งฮ้างไปสู่การปฏิบัติ เรียงลำดับจากค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุมากไปหาน้อย คือ การบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนตามหลักนิติธรรม ความร่วมมือของสมาชิก และการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนตามหลักจิตสำนึกรับผิดชอบ โดยมีอิทธิพลเชิงสาเหตุเท่ากับ 0.423 , 0.371 และ 0.200 ตามลำดับ ข้อเสนอแนะต่อการนำนโยบายการยกระดับองค์กรการเงินชุมชนให้เป็นสถาบันการเงินชุมชนบ้านทุ่งฮ้างไปสู่การปฏิบัติ ในภาพรวมคือ รัฐให้การสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนให้เป็นที่พึ่งแก่ชุมชนได้จริง การบริหารและการจัดการสถาบันการเงินชุมชนต้องยึดหลักนิติธรรม คือให้ความสำคัญกับกฎระเบียบและข้อบังคับ การบริหารและการจัดการของคณะกรรมการต้องยึดหลักความรับผิดชอบ และสมาชิกต้องให้ความร่วมมือกับสถาบันการเงิน กล่าวคือ ใช้เงินกู้ตรงตามวัตถุประสงค์และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1032
Appears in Collections:Economics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pasita_Tenginyom.pdf3.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.