Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1031
Title: รูปแบบการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ ในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Cross culture communication model of volunteer tourism tourists in Chiangmai province
Authors: หทัยรัตน์ วิวรรธน์รณกิต
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของนักท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ที่เข้ามาทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อระบุความความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ที่มีต่อการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อวิเคราะห์การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมทางการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในจังหวัดเชียงใหม่ 4) เพื่อกำหนดรูปแบบการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยประชากรก่อนที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร องค์กรพัฒนาเอกชนและบริษัทนำเที่ยวผู้จัดนำอาสาสมัครจากต่างประเทศเดินทางมาทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ จำนวน 10 คน นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 384 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเจาะลึกเป็นรายบุคคล และแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ด้านคุณลักษณะของนักท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ที่เข้ามาทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ ประกอบด้วย ระยะเวลาในการบำเพ็ญประโยชน์ ควรมีระยะเวลาที่นานพออย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อประโยชน์ในเรื่องของความต่อเนื่องในการทำกิจกรรม และมีช่วงระยะเวลา ฤดูการณ์ที่เหมาะสม เพื่อความสะดวกในการเดินทาง และจัดกิจกรรม คุณลักษณะด้านประสบการณ์ที่ได้รับจากการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ คือการได้เรียนรู้วัฒนธรรมไทยที่มีความแตกต่าง และสร้างความภูมิใจและคุณค่าให้แก่ตนเอง ทำให้มีความคิดในเชิงบวก เป็นผู้ที่เปิดใจรับกับสิ่งใหม่ได้ดี ปรับตัวได้ดี มีความมั่นใจในตนเอง คุณลักษณะด้านรูปแบบที่เข้ามาร่วมกิจกรรมเชิงบำเพ็ญประโยชน์ ควรมีการวางแผนเตรียมการไว้ล่วงหน้า เป็นประโยชน์ และสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ คือ การท่องเที่ยวเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีความยากลำบากกว่า และใช้เวลาท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่เกิดประโยชน์ได้ความรู้ และประสบการณ์ที่ดี ด้านความความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ที่มีต่อการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ พบว่า ด้านผลที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ มีค่ามาก รองลงมาได้แก่ ด้านกิจกรรมของการท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ และด้านระยะเวลาของการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ส่วนด้านการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมทางการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยด้านการเคารพความเสมอภาค มีค่ามากสุด รองลงมาคือ ด้านการมีความสามารถในการเผชิญปัญหา ด้านความสามารถเฉพาะตน ด้านความแตกต่างทางวัฒนธรรม ด้านทักษะทางการสื่อสาร และด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ สำหรับรูปแบบการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในจังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 หน่วยงานด้านการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ องค์กรพัฒนาเอกชนและบริษัทนำเที่ยว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว สามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนา รูปแบบกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์ ที่หลากหลาย เหมาะสม และพัฒนาด้านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ดีระหว่างนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่ และเพื่อการปรับปรุงกิจกรรม แผนงาน การตลาด รวมไปถึงนโยบายต่างๆ สามารถรับมือกับกับการเปลี่ยนแปลง อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1031
Appears in Collections:ENG-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Hatairat_Viwatronakit.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.