Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1027
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อรุณ บิลหลี | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-04T03:37:57Z | - |
dc.date.available | 2022-07-04T03:37:57Z | - |
dc.date.issued | 2019 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1027 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การท่องเที่ยวฮาลาลของจังหวัดสงขลา 2) วิเคราะห์นโยบายและมุมมองของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการท่องเที่ยวฮาลาลในจังหวัดสงขลา 3) วิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมที่มาท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา และ 4) วิเคราะห์ขีดความสามารถในการท่องเที่ยวฮาลาลของจังหวัดสงขลา ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) หน่วยงานภาครัฐ 2) หน่วยงานภาคเอกชนและผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว และ 3) นักท่องเที่ยวชาวมุสลิม ผลการวิเคราะห์สถานการณ์การท่องเที่ยวฮาลาลของจังหวัดสงขลา พบว่า จังหวัดสงขลามีขีดความสามารถในการท่องเที่ยวฮาลาล เนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความสำคัญต่อการตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมได้แก่ อาหารฮาลาลและสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ (ละหมาด) อีกทั้งผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลาให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความสอดคล้องกับบทบัญญัติศาสนาอิสลาม ผลการวิเคราะห์นโยบายและมุมมองของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการท่องเที่ยวฮาลาลในจังหวัดสงขลา พบว่า นโยบายที่มีความสำคัญต่อการสร้างขีดความสามารถในการท่องเที่ยวฮาลาลของจังหวัดสงขลา คือ 1) การกำหนดนโยบายด้านการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวฮาลาลแบบมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว 2) การกำหนดนโยบายด้านการกำหนดแผนงานการบริหารจัดการท่องเที่ยวฮาลาลทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว 3) การกำหนดนโยบายด้านการจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการท่องเที่ยวฮาลาล และ 4) การกำหนดนโยบายด้านการจัดการตลาดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของจังหวัดสงขลาในการท่องเที่ยวฮาลาล ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมที่มาท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา พบว่า นักท่องเที่ยวชาวมุสลิมมีพฤติกรรมการใช้บริการท่องเที่ยวด้านความคาดหวังและความพึงพอใจ “ระดับมาก” และมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ขีดความสามารถในการท่องเที่ยวฮาลาลของจังหวัดสงขลา พบว่า จังหวัดสงขลามีกลยุทธ์เชิงผลักดันด้านยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนจังหวัดสงขลาให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวฮาลาล | en_US |
dc.description.sponsorship | Maejo University | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Maejo University | en_US |
dc.title | ขีดความสามารถในการท่องเที่ยวฮาลาลของจัวหวัดสงขลา | en_US |
dc.title.alternative | The capabilities of halal tourism in songhla province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | ENG-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Arun_Billee.pdf | 3.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.