Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1025
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปัณณทัต กัลยา-
dc.date.accessioned2022-07-04T03:33:12Z-
dc.date.available2022-07-04T03:33:12Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1025-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1). ศึกษาศักยภาพและคุณค่าของทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทงานพุทธศิลป์ของจังหวัดลำปาง จากบริบททางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม 2). สร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร เพื่อถ่ายทอดความรู้ และความตระหนักรู้ด้านการอนุรักษ์งานพุทธศิลป์ อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน 3). พัฒนาการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครอนุรักษ์งานพุทธศิลป์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 4). ประเมินผลกระทบจากกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครอนุรักษ์งานพุทธศิลป์อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มประชากรของงานวิจัยมีจำนวนทั้งสิ้น 436 คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก เครื่องมือที่ใช้กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือเครื่องมือเชิงคุณภาพประกอบด้วย แบบเก็บข้อมูลภาคสนาม แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง การจัดเวทีชาวบ้าน และการประชุมกลุ่มย่อย และเครื่องมือเชิงปริมาณได้แก่แบบสอบถามเพื่อการนำไปสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า บริบททางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ของจังหวัดลำปาง สามารถแบ่งแยกออกตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคที่ก่อตั้งเป็นนครรัฐ ยุคที่ตกภายใต้อำนาจของพม่า และยุคการเป็นมณฑลเทศาภิบาลภายใต้การปกครองของสยาม โดยจากงานพุทธศิลป์ที่ได้ผ่านกระบวนการอนุรักษ์ จำนวน 1,275 ชิ้น ของงานวิจัย พบว่างานพุทธศิลป์ของจังหวัดลำปางมีศักยภาพและคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี โดยพบหลักฐานที่อาจมีอายุย้อนกลับไปถึงยุคอาณาจักรหริภุญไชย ด้านสังคมและวัฒนธรรมมีงานพุทธศิลป์ที่เป็นแบบที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของล้านนาในช่วงสมัยต่างๆ ด้านสุนทรียศาสตร์ งานพุทธศิลป์ลำปางจะมีจริตความงามชัดเจน เช่น กลุ่มลวดลาย กลุ่มเทคนิค กลุ่มรูปทรง ส่วนในด้านวิชาการ องค์ความรู้จากงานพุทธศิลป์ ทำให้เกิดการสืบค้นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นก่อให้เกิดองค์ความรู้ด้านวิชาการ โดยจากกระบวนการอนุรักษ์งานพุทธศิลป์สามารถสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครอนุรักษ์งานพุทธศิลป์ได้ จำนวน 7 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) กิจกรรมปฐมนิเทศ 2) กิจกรรมขอขมาโบราณวัตถุ 3) กิจกรรมตรวจนับและลงรหัสหมายเลขเบื้องต้น 4) กิจกรรมถ่ายรูป วัดขนาดและทำความสะอาดตามกระบวนการวิชาการ 5) กิจกรรมอ่านจารึก 6) กิจกรรมลงทะเบียนโบราณวัตถุ 7) กิจกรรมเวทีสรุปบทเรียนของโครงการ ตรวจรับของคืน นอกเหนือจากนี้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อบริหารจัดการท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน โดยพัฒนาคน โครงสร้าง และระบบ โดยมีผลการวัดระดับการมีส่วนร่วมในภาพรวมในระดับการให้ความร่วมมือ และภายหลังได้มีการประเมินผลกระทบหลังจากการบริหารจัดการท่องเที่ยวในห้วงเวลา 1 ปี พบว่าการท่องเที่ยวนั้นสร้างผลกระทบในระดับมากในทางเศรษฐกิจ ส่วนด้านสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลางในเชิงบวก รวมถึงสามารถได้แพร่กระจาย และเพิ่มความตระหนักรู้และจิตสำนึกในการอนุรักษ์ของประชากรในพื้นที่มากขึ้น โดยได้ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจต่างๆ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว เช่นกลุ่มอาหารเพื่อบริการนักท่องเที่ยว กลุ่มการแสดง และยุวมัคคุเทศก์ และเป็นตัวอย่างให้หลายชุมชนรอบข้างได้นำไปใช้ โดยสรุปผลของงานวิจัยทำให้ได้ทะเบียนงานพุทธศิลป์ที่องค์กรที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการอนุรักษ์ วัดและชุมชนได้ศูนย์เรียนรู้การอนุรักษ์พุทธศิลป์ ชมรมการอนุรักษ์งานพุทธศิลป์ รูปแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครอนุรักษ์งานพุทธศิลป์ และเครือข่ายสนับสนุนการท่องเที่ยวในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน สำหรับผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า กิจกรรมการอนุรักษ์งานพุทธศิลป์อย่างมีส่วนร่วมของจังหวัดลำปางแต่ละกิจกรรมมีผลทำให้กลุ่มตัวอย่างความรู้ด้านพุทธิพิสัยแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และกิจกรรมและวิธีการถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบกิจกรรมการอนุรักษ์งานพุทธศิลป์เต็มรูปแบบที่ออกแบบสำหรับกลุ่มทดลอง (experimental group) ทำให้ผลการทดสอบทั้งสองครั้ง (ก่อนและหลัง) แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05en_US
dc.description.sponsorshipMaejo Universityen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherMaejo Universityen_US
dc.titleรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครอนุรักษ์งานพุทธศิลป์อย่างมีส่วนร่วมของจังหวัดลำปางen_US
dc.title.alternativeParticipatory buddhist arts conservation-based voluntourism model of Lampang provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ENG-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pannathat_Kalaya.pdf7.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.