Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1019
Title: | การจัดการนวัตกรรมการเกษตร : กรณีศึกษาโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ด้วยระบบบังคับอากาศแนวตั้งกับผลลำไยสดส่งออกทางภาคเหนือของประเทศไทย |
Other Titles: | Agriculural innovation management: a case study of vertical force air fumigation on exported fresh longan in the north of Thailand |
Authors: | รษิกา สีวิลัย |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้นวัตกรรมของผู้ประกอบการโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ในลำไยสดส่งออกของประเทศไทย เพื่อนำข้อมูลที่ศึกษามากำหนดกลยุทธ์ และจัดทำแผนกลยุทธ์ สำหรับทำร่างข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์การใช้งานนวัตกรรมการรม SO2 ด้วยระบบบังคับอากาศแบบแนวตั้ง ให้กับผู้ประกอบการโรงรม SO2 และผู้ส่งออกลำไยสดของไทย โดยการศึกษาแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนที่ 1. การวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการหาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้นวัตกรรมการเกษตร วิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor analysis) ผลที่ได้พบว่ามีปัจจัย 28 ปัจจัย ใน 10 องค์ประกอบ ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้นวัตกรรมการเกษตร โดยสามารถอธิบายการเลือกใช้เทคโนโลยีได้ 53.9% ขั้นตอนที่ 2. เรียงลำดับความสำคัญของปัจจัยในการเลือกใช้เทคโนโลยี ใช้เทคนิค SWOT เพื่อหากลยุทธ์ในการเลือกใช้นวัตกรรมการเกษตร ได้เลือก 6 องค์ประกอบ ที่สามารถนำไปสร้างเป็นแผนยุทธศาสตร์ วิเคราะห์หาแนวทางในการผลักดันให้ผู้ประกอบการมาเลือกใช้เทคโนโลยีการรม SO2 ที่มีประสิทธิภาพให้เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ได้กลยุทธ์ในการจัดการเทคโนโลยีการรมก๊าซ SO2 ระบบบังคับอากาศแนวตั้ง รวม 5 ด้าน คือ 1) ด้านความคุ้มค่าในการลงทุน 2) ด้านเป้าหมายองค์กร 3) ด้านความพร้อมในการแข่งขัน 4) ด้านการใช้เทคโนโลยี และ 5) ด้านการดำเนินงานและการบริหารจัดการ นำมาสร้างกลยุทธ์โดย TOWS Matrix ขั้นตอนที่ 3. จากการสนทนากลุ่ม (Focus group) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีโรงรม SO2 ได้นำกลยุทธ์ที่ได้แต่ละด้านมาวิเคราะห์เป็นกลยุทธ์ในแต่ละมิติ คือ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เชิงแก้ไข กลยุทธ์เชิงป้องกัน และกลยุทธ์เชิงรับ เสนอเป็นแนวทางที่สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นระบบ ได้ข้อเสนอข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ทั้ง 5 ด้าน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์กำหนดทิศทางและจัดทำแนวปฏิบัติเพื่อนำองค์ความรู้ของนวัตกรรมการเกษตรนี้ไปสู่การทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสาธารณะ |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1019 |
Appears in Collections: | ENG-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rasiga_Revilai.pdf | 6.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.