Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1017
Title: | การเพาะเลี้ยงและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร จากสาหร่าย Nostoc commune |
Other Titles: | Cultivation and development food products from Nostoc commune algae |
Authors: | จิตตินันท์ แก้วมณีสุข |
Issue Date: | 2021 |
Publisher: | Maejo University |
Abstract: | การคัดแยกสาหร่าย Nostoc commune MTR สายพันธุ์บริสุทธิ์จากแม่น้ำแม่แตง ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และทำการเปรียบเทียบยืนยันสายพันธุ์กับ TISTR 8160 จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ฯ และการทำลำดับเบส (เหมือนกันร้อยละ 99) พร้อมการยืนยันชนิดคู่กับคู่มือวินิจฉัยของ Desikachary (1959) ทำการเพาะเลี้ยงด้วยสูตรอาหารปรับปรุง BG-11 และควบคุมความปลอดภัยของการปนเปื้อนโซเดียมไนเตรต โดยการทดลองการเติมและไม่เติมโซเดียมไนเตรต จากคุณสมบัติความสามารถตรึงไนโตรเจนได้ของสาหร่ายชนิดนี้ ทำการเพาะเลี้ยงในระบบปิดภายใต้แสงเทียม LED สีแดงที่ความเข้มแสง 10, 20, 30, 90, 100 และ 120 µmol m-2s-1 พบว่าทุกการทดลอง ปริมาณโซเดียมไนเตรตมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐาน 3,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีค่าอยู่ในช่วง 124.8 ถึง 882 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จากภาพถ่าย SEM พบว่าการทดลองที่ไม่เติมโซเดียมไนเตรต มีปริมาณ Heterocyst มากกว่าชุดการทดลองที่เติมโซเดียมไนเตรต ซึ่งเกิดขึ้นจากภาวะการขาดไนโตรเจน หลังจากเพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลา 21 วัน พบว่า การไม่เติมโซเดียมไนเตรต ที่ความเข้มแสง 120 µmol m-2s-1 มีปริมาณน้ำหนักแห้งสูงสุด คือ 2.01 ± 1.28 กรัม รองลงมาคือ ความเข้มแสง 100 และ 90 µmol m-2s-1 มีปริมาณน้ำหนักแห้ง 1.48 ± 1.06 และ 1.53 ± 1.15 กรัม ตามลำดับ และการเติมโซเดียมไนเตรตทำให้ปริมาณโปรตีน ไฟโคไซยานิน แคโรทีนอยด์ และคลอโรฟิลล์ เอ สูงกว่าการ ไม่เติมโซเดียมไนเตรต โดยมีปริมาณโปรตีนสูงสุดที่ความเข้มแสง 20 µmol m-2s-1 มีค่า 529.41 ± 14.10 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณร้อยละไฟโคไซยานินบริสุทธิ์สูงสุดที่ 10 µmol m-2 s-1 มีค่า 3.147 ± 0.16 ปริมาณแคโรทีนอยด์สูงสุดที่ความเข้มแสง 10 µmol-2s-1 มีปริมาณ 1.04 ± 0.19 รองลงมา 20 µmol m-2s-1 1.03 ± 0.02 และ 30 µmol m-2s-1 0.95 ± 0.04 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ ความเข้มแสงที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายคือ 30 µmol m-2 s-1 ในด้านผลผลิต คุณค่าทางโภชนาการ และอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้า ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสาหร่าย N. commune MTR จำนวน 3 ชนิด คือ คาร์เวียร์ เยลลี่ และผงโรยข้าว จากการสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง 100 คน พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์เยลลี่มากที่สุดร้อยละ 4.33 รองลงมาคาเวียร์สาหร่ายร้อยละ 4.15 และผงโรยข้าวร้อยละ 3.88 ตามลำดับ |
URI: | http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1017 |
Appears in Collections: | ENG-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jittanan_Kaewmanee.pdf | 7.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.